แล้วเราจะทราบได้อย่างไรว่ากาแฟเหล่านั้นได้มาจากแหล่งเพาะปลูกที่มีระดับความสูงเท่าไร?
ระดับความสูงของพื้นที่เพาะปลูกนั้นเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะส่งผลต่อลักษณะทางกายภาพของเมล็ดกาแฟ
หากเราเลือกกาแฟสาร (green bean หรือเมล็ดกาแฟดิบ)
ให้ลองพิจารณากาแฟสารอย่างละเอียดว่าเมล็ดนั้นเล็กและแน่นหรือไม่
เส้นร่องเป็นแบบปิด, เปิด, ตรง,
หรือซิกแซก สีของเมล็ดเป็นสีหยก, เขียวอ่อน,
หรือสีฟ้า
ลักษณะทั้งหลายเหล่านี้ล้วนได้รับผลมาจากระดับความสูงของพื้นที่เพาะปลูกที่แตกต่างกันเมล็ดกาแฟที่เจริญเติบโตบนพื้นที่เพาะปลูกสูงจากระดับน้ำทะเล
4,500 ฟุตขึ้นไปนั้น (หรือความสูง 1,371
เมตรจากระดับน้ำทะเลขึ้นไป) เมล็ดจะมีความหนาแน่น เกิดจากการเจริญเติบโตอย่างช้า ๆ
และเกิดขึ้นในแหล่งเพาะปลูกพื้นที่สูงมาก เมล็ดเหล่านี้จะมีเส้นร่องปิด
และอาจจะมีเส้นร่องที่ซิกแซก หรือเอียงเล็กน้อย
ในทางกลับกัน
ในพื้นที่เพาะปลูกที่ต่ำลดลงมาเมล็ดที่ได้ก็จะมีความหนาแน่นต่ำกว่า
และมีรอยแยกแบบกึ่งเปิด
สีของกาแฟสารนั้นจะมีความแตกต่างและหลากหลายกันไปในแต่ละกระบวนการโพรเซสกาแฟด้วย
อย่างเช่นกาแฟที่มาจากแหล่งเพาะปลูกเดียวกัน
หากโพรเซสด้วยวิธีการที่ต่างกันก็จะทำให้ได้สีของกาแฟสารที่ได้ต่างกันไปด้วย
ด้วยแหล่งเพาะปลูกที่ต่างกันจะทำให้ได้กลิ่นและรสชาติของกาแฟที่มีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันออกไปด้วย
เมล็ดกาแฟนั้นมีคุณสมบัติที่ดึงดูดกลิ่นจากสภาพแวดล้อมรอบข้างเข้าสู่เมล็ดได้ดี
เช่นดอยใดที่มีสวนดอกไม้ หรือมีผลไม้ต่าง
ๆ อย่างซิตรัส ฮาเซลนัท ฯลฯ กาแฟจากดอยนั้นก็จะมีกลิ่นของดอกไม้นานาพันธุ์
กลิ่นซิตรัสอ่อน ๆ กลิ่นน้ำผึ้งป่า กลิ่นฮาเซลนัทแทรกอยู่ในเมล็ดกาแฟด้วยเช่นกัน
บางท่านอาจเคยได้ยินคำว่า single origin coffee คือเมล็ดกาแฟจากแหล่งกำเนิดสายพันธุ์แท้ที่มีแห่งเดียวในโลก
จึงให้รสชาติที่เป็นเอกลักษณ์หรือมีความพิเศษเฉพาะตัว
ไม่ว่าจะเป็นเมล็ดกาแฟจากกัวเตมาลา คอสตาริกา โคลัมเบีย บราซิล
เอธิโอเปียและปาปัวนิวกินี ทั้งนี้ ในประเทศไทยก็มีกาแฟดอยช้าง
ที่ได้รับการจดสิทธิบัตรให้เป็น ซิงเกิล ออริจิน
ที่มีคาแร็คเตอร์ของกลิ่นและรสชาติที่พิเศษเฉพาะตัวค่ะ
ในตอนหน้าเรามาดูกันว่า
ด้วยวิธีการโพรเซสแบบต่าง ๆ จะทำให้ได้กาแฟที่มีรสชาติและกลิ่นอย่างไรกันบ้างค่ะ
Cr.เทรนเนอร์เกียว
พบกับหลากหลายบทความดี ๆ จากประสบการณ์ความรู้และทักษะของเหล่า
❝ เทรนเนอร์ ฮิลล์คอฟฟ์ ❞ ได้ที่นี่ www.facebook.com/ilovehillkoff และ www.hillkoff.com และ http://ilovehillkoff.blogspot.com/
ในบทความดี ๆ ตอนต่อไปนะคะ