วันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2559

สกัดกาแฟอย่างไรให้มีเครม่าสีทองสวยเนียนหนา


หลายท่านอาจพบปัญหาว่าเมื่อสกัดกาแฟออกมาแล้วเครม่านั่นไม่สวย เช่นเครม่าเบิร์นบ้างดำบ้าง หรือไม่มีเครม่าบ้าง เรามาดูปัจจัยต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดเครม่ากันค่ะ
1. ความสดใหม่ของกาแฟ เนื่องจากเครม่านั้นประกอบไปด้วย CO2 ที่อยู่ในเมล็ดกาแฟ เราจะสังเกตได้ว่ากาแฟที่เพิ่งคั่วใหม่ ๆ นั้นเครม่าจะหนา หากทิ้งไว้นานเป็นเดือนเครม่าจะบางลงจากการที่ก๊าซ CO2 ลดลง ซึ่งการเก็บรักษาเมล็ดกาแฟให้พ้นจากแสงแดดและอากาศภายนอกเป็นปัจจัยหลักที่จะทำให้กาแฟนั้นคงความสดใหม่ไปได้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้
2. อุณหภูมิของเครื่องชงกาแฟ อุปกรณ์ในการชง และน้ำที่ใช้ชงกาแฟ ตรวจสอบดูให้ดีก่อนว่าเครื่องชงนั้นมีอุณหภูมิร้อนพร้อมสำหรับการสกัดกาแฟแล้วหรือยัง รวมทั้งอุปกรณ์อย่างเช่นด้ามชงด้วยค่ะ ปกติแล้วเราจะทำความสะอาดแล้วเก็บด้ามชงไว้ที่หัวกรุ๊ปเพื่อให้ด้ามชงนั้นอุ่นอยู่ตลอดเวลา แต่ถ้าด้ามชงเย็นก็ให้นำด้ามชงลวกน้ำร้อนแล้วเช็ดให้แห้งก่อนที่จะสกัดกาแฟครั้งต่อไปก็ทำได้ค่ะ
3. วิธีการสกัด วิธีการสกัดที่ต่างกันทำให้เครม่าที่ได้ในการสกัดแต่ละครั้งนั้นต่างกันด้วยค่ะ ให้สังเกตุอัตราการไหลของน้ำกาแฟที่สกัดออกมาค่ะ หากอัตราการไหลของน้ำกาแฟนั้นเร็วเกินไป (Under Extraction) จะทำให้ไม่มีเครม่า หรือถ้ามีก็จะมีแบบบาง ๆ และเครม่าก็จะสลายตัวหายไปอย่างรวดเร็ว ในทางกลับกันหากอัตราการไหลของน้ำกาแฟนั้นช้าเกินไป (Over Extraction) เครม่าที่ได้ก็จะดำเกินไปส่งผลให้รสชาติของน้ำกาแฟนั้นขมเกินไปและมีกลิ่นเหม็นไหม้ค่ะ (burn) แต่หากอัตราการสกัดอยู่ในช่วงที่พอดี (Good Extraction) เครม่านั้นก็จะเป็นสีทองสวยและเนียนหนาอย่างแน่นอนค่ะ
เครม่านั้นจะประกอบไปด้วยไขมัน, ก๊าซ และฟองของเหลวที่จับตัวกันเป็นฟิล์ม ฟิล์มนี้จะมีโมเลกุลของน้ำมัน โปรตีน และน้ำตาลที่จับยึดกันอยู่ โดยมีน้ำเป็นตัวประสาน และจับตัวกันในลักษณะคล้ายรังผึ้งเมื่อเคลื่อนเข้ามาอยู่ใกล้กัน ลักษณะที่สำคัญของเครม่าคือความอึด โดยเครม่าเล็ก ๆ เหล่านี้จะไม่แตกสลายไปเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 2-3 นาที โดยสาเหตุที่เครม่าหายไปเพราะน้ำที่เป็นตัวประสานกลางนั้นรั่วออกไปทำให้แรงยึดเกาะของโมเลกุลนั้นลดลง ก๊าซที่อยู่ด้านในจึงออกมาได้
หากจะวัดปริมาณของเครม่านั้นต้องรีบกระทำในทันที โดยถ่ายเอสเพรสโซ่ที่เพิ่งชงเสร็จใหม่ลงในหลอดแก้วทรงกระบอก ทิ้งไว้สักอึดใจให้เครม่าเซ็ตตัว และอ่านค่าชั้นโฟมและของเหลว โดยอัตราส่วนโฟมและของเหลวต้องเป็นอย่างน้อย 1 ต่อ 10 ค่ะ
บ้างก็วัดความอึดของเครม่าด้วยความสามารถในการรับน้ำหนักของน้ำตาลละเอียดอย่างน้อย  1 ช้อนชา
ชั้นโฟมเครม่านี้ทำหน้าที่เหมือนฝาปิดกั้นไว้ไม่ให้กลิ่นต่าง ๆ ที่อยู่เบื้องล่างระเหยออกไปอย่างรวดเร็ว เวลาที่เราดื่มเอสเพรสโซก็จะได้กลิ่นหอมหวนอยู่ในปากเราเป็นเวลานานนั่นเองค่ะ

Cr.Trainer เกียว
บทความนี้เขียนและเรียบเรียงด้วยถ้อยคำของเทรนเนอร์เอง ทั้งนี้ได้มีการหาข้อมูลเพิ่มเติมจากสื่อทั้งในและต่างประเทศ

--- พบกับหลากหลายบทความดี ๆ จากประสบการณ์ความรู้และทักษะของเหล่า ❝ เทรนเนอร์ ฮิลล์คอฟฟ์ ❞ ได้ที่นี่ www.facebook.com/ilovehillkoff และ www.hillkoff.com และ http://ilovehillkoff.blogspot.com ในบทความดี ๆ ตอนต่อไปนะคะ

วันจันทร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2559

‘ชาต้มยำ’ (Thai tom yum) นวัตกรรมเครื่องดื่มสมุนไพรสูตรใหม่


‘ชาต้มยำ’ (Thai tom yum) นวัตกรรมเครื่องดื่มสมุนไพรสูตรใหม่ ของ Hillkoff นำเสนอภูมิปัญญาไทยสู่ความเป็นสากลโลก ดึงความเผ็ดร้อนเบาๆ ของสมุนไพร ที่ผ่านการคัดสรรอย่างพิถีพิถันออกมา และใส่ความเป็นอัตลักษณ์ของไทยลงไป กลิ่นหอม และ รสชาติเผ็ดเบาๆท อุ่นๆ ชุ่มคอ เพียบพร้อมสรรพคุณ เป็นสมุนไพรไร้สารพิษ ลดอาการเบื่ออาหาร ช่วยให้นอนหลับง่าย ขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยย่อยอาหาร แก้อาการ เมาค้าง แก้หวัด ทำให้หายใจได้โล่งสะดวก ควบคุมระดับน้ำตาล และลดคอเลสเตอรอลในเลือด บำรุงหัวใจ รวมถึงช่วยขับถ่ายของเสียต่างๆ ในรูปของเหงื่อ ปัสสาวะ และเสมหะ 

วิธีการชงชาต้มยำสามารถทำได้อย่างง่าย เหมือนการชงชาทั้วไป คือเทน้ำร้อน และเติมน้ำผึ้งเพื่อให้ได้รสชาติที่ลงตัวกับชาหอมๆ หนึ่งถ้วย และ Hillkoff ยังทำให้เป็นเครื่องดื่มพิเศษ เช่นสูตรของเมนูเครื่องดื่มร้อน “Hot Toddy Mocha White Choc” ความเผ็ดน้อยๆ ของต้มยำไทยแทรกกลางระหว่างความหวานหอมของกาแฟกับไวท์ซ็อคโกแลค สร้างความเร้าใจตื่นเต้นใหม่ๆทุกๆการจิบลงคอ 

ส่วนผสม 
1.White Chocolate Pomona 20 มิลลิลิตร/(จำนวน 2 ปั๊ม) 
2.กาแฟสกัดเย็น Cold Brew 60 มิลลิลิตร 
3.ชารสต้มยำ (สูตรนวัตกรรม Hillkoff) 30 มิลลิลิตร 
4.นมร้อน 
5.ฟองนมร้อน 

ชั้นตอนการทำ 
1.ริน White Chocolate Pomona ใส่ลงในแก้ว ตามด้วยน้ำชารสต้มยำที่ผ่านการต้มในน้ำร้อนแล้วลงไป 
2.สตรีมฟองนมร้อนจนฟองมีความแน่นและดูฟู รินนมร้อนที่สตีมไว้แล้ว ค่อยๆเทลงไปในแก้ว 
3.ตักฟองนมด้วยซ้อนลงในแก้วจนเต็ม 
4.จากนั้นจึงเทกาแฟสกัดเย็น Cold Brew ปริมาณ 60 ml. ตามลงไป 


Thai tom yum tea is Hillkoff’s new herbal dink innovation, featuring the flavours of Thailand’s most famous dish. It tastes spicy, smells sweet, benefits your health, and is easier than pie to make-simply add hot water Thai tom yum tea is also used to create a very special ‘’Hot Toddy Mocha White Choc,’’ a combination of the slight spiciness from the Thai tom yum tea with the sweetness of coffee and white chocolate. 

Ingredients 
1. Pomona White chocolate 20 millilitres 
2. Cold brewed coffee 60 millilitres 
3. Thai tom yam tea (by Hillkoff) 30 millilitres 
4. Hot milk 
5. Hot milk foam 

Method 
1. Pour Pomona White chocolate into a glass, followed by hot tom yum tea. 
2. Steam hot milk until foam turns thick. 
3. Use spoon to scoop milk foam into a glass. 
4. Pour cold brewed coffee into the glass. 

Hillkoff ที่ปรึกษาธุรกิจกาแฟและเครื่องดื่มแบบครบวงจร สนใจติดต่อสอบถามข้อมูล รับคำปรึกษาหรือสั่งซื้อสินค้า ได้ทั้งทางโพสต์หน้าWall, Inbox และแชทไลน์ หรือโทรศัพท์: 053-231030 , 082-7629259 
www.hillkoff.com
Twitter : ilovehillkoff
Line ID : hkmarketing
Instagram : ilovehillkoff

Coffee Flavor Wheel ปรับปรุงใหม่ในรอบ 20 ปี!


เพื่อนๆ ชาว HILLKOFF's We Are Friends ที่อยู่ในแวดวงกาแฟคงคุ้นเคยกับวงล้อรสชาติกาแฟซึ่งเป็นนวัตกรรมที่สำคัญอันหนึ่งของ SCAA หรือสมาคมกาแฟชนิดพิเศษแห่งอเมริกา ซึ่งนี่เป็นครั้งแรกที่มีการปรับปรุงหลังจากวงล้อนี้ออกสู่สาธารณะเมื่อ 21 ปีมาแล้ว โดยหน่วยงานที่เป็นผู้รับผิดชอบโครงการนี้คือ World Coffee Research Sensory Lexicon ซึ่งประกอบไปด้วยนักวิทยาศาสตร์ นักวิจัยทางด้านกลิ่น บริษัทกาแฟ โรงคั่วกาแฟซึ่งร่วมกันทำงานผ่าน WCR (World Coffee Research) และ SCAA ซึ่งครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกที่เป็นความร่วมมือในวงกว้างที่สุด เพื่อให้งานวิจัยเกี่ยวกับกลิ่นกาแฟประสบความสำเร็จ เกิดเป็นมาตรฐานใหม่ที่สามารถใช้ในการอธิบายกลิ่นกาแฟให้กับบุคลากรในอุตสาหกรรม ซึ่งการค้นคว้าวิจัยนี้จะยกระดับการทำงานเกี่ยวกับกลิ่นกาแฟไปอีกขั้นหนึ่ง 

การริเริ่มปรับปรุงพัฒนาวงล้อแห่งกลิ่น เริ่มจากความต้องการของนักวิจัยที่ต้องการให้มีวิธีทางวิทยาศาสตร์ที่สามารถเข้าใจกลิ่นกาแฟได้ถูกต้องมากขึ้น ทั้งนี้ การคัพปิ้งกาแฟ (SCAA's cupping protocol) ก็เป็นเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยในการประเมินและทำความเข้าใจคุณภาพของกาแฟ อย่างไรก็ตามยังมีบางแง่มุมที่การคัพปิ้งไม่สามารถให้คำตอบได้ ยกตัวอย่างเช่น การที่กาแฟจากสองแหล่งได้รับคะแนน 86 คะแนนเท่ากัน แต่รสชาติของกาแฟตัวอย่างทั้งสองนี้มีความแตกต่างอย่างมาก เพื่อที่จะเข้าใจว่าอะไรเป็นต้นเหตุและส่งผลต่อกลิ่นกาแฟ จำเป็นจะมีต้องมีเครื่องมือที่วัดค่า "flavor notes" หรือ ที่นักวิทยาศาสตร์เรียกว่า "flavor attributes" ออกมาเป็นตัวเลข 

WCR จึงทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัย Kansas State และ Texas A&M เพื่อสร้างมาตรฐานที่สามารถอธิบายและประเมินกลิ่นกาแฟออกมาได้ โดยการใช้ผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการฝึกอย่างดีมาทำการทดสอบแบบ Blind Test เทียบกับตัวอย่างที่เป็นที่รู้จักและอ้างอิงได้ ผลลัพธ์จากงานวิจัยเป็นจุดเริ่มต้นที่ช่วยให้ SCAA สามารถปรับปรุง Coffee Taster's Flavor Wheel เดิม ให้มีความชัดเจนมากขึ้น ลดความคลุมเครือและข้อโต้แย้งต่างๆ 

เนื่องจากผลการวิจัยของ WCR ซึ่งได้คุณสมบัติของกลิ่นกาแฟ (Coffee Attributes) นั้น ยังไม่ได้นำมาจัดหมวดหมู่เหมือนกับ Flavor Wheel ของ SCAA ภาควิชาเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์การอาหาร University of California (Davis) จึงเข้ามาช่วยให้คำปรึกษาในการพัฒนาวงล้อแห่งกลิ่นกาแฟ ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เทคนิคหลายอย่างถูกนำมาใช้เป็นครั้งแรกในการวิจัยเกี่ยวกับกาแฟ เช่น AHC (Agglomerative Hierarchical Cluster) ซึ่งเป็นระบบจัดเรียงแบบกราฟฟิกส์ ซึ่งช่วยให้สามารถจัดเรียงกลิ่นลงไปในหมวดต่างๆ นอกจากนี้ยังมีระบบ MDS (Multidimensional Scaling) ซึ่งช่วยให้บางกลิ่นที่ซ้อนทับกันหรืออยู่ใกล้ชิดกันเกินไปสามารถมองเห็นได้ง่าย 

ผลสรุปการวิจัยมีความน่าสนใจมาก เนื่องจากผู้เชี่ยวชาญด้านกาแฟและนักวิจัยด้านกลิ่น ได้ผลลัพธ์ออกมาคล้ายกันมาก ทำให้เราเกิดความมั่นใจมากยิ่งขึ้น ในการใช้ Flavor Wheel ซึ่งมีพื้นฐานมาจากงานวิจัย และหลังจากนี้สื่อการเรียนการสอน รวมถึงแหล่งความรู้ต่างๆ ที่ใช้ในการอบรม SCAA จะถูกปรับปรุงตาม Flavor Wheel ที่ได้รับการพัฒนานี้ และจะมีการพัฒนาไปเรื่อยๆ หากมีการค้นพบกลิ่นใหม่ๆ ในอนาคต สุดท้ายนี้คงไม่มีใครภาคภูมิใจไปกว่าบุุคลากรในแวดวงกาแฟ ที่พวกเราได้มาถึงก้าวสำคัญ ก้าวใหม่ในการวิจัยเกี่ยวกับกาแฟ 

เรียบเรียงโดย: ฝ่ายวิชาการและพัฒนาหลักสูตร ศูนย์การเรียนรู้ ฝึกอบรม กาแฟและเครื่องดื่ม ฮิลล์คอฟฟ์ 

#SCAA #COFFEECUPPING #FLAVORWHEEL #AROMA

Coffee Flavor Wheel วงล้อแห่งรสชาติกาแฟ ฉบับปรับปรุงใหม่


ยังคงอยู่กับบรรยากาศแห่งความตื่นเต้นในนวัตกรรมใหม่ของ SCAA ซึ่งก็คือ Coffee Flavor Wheel ฉบับปรับปรุงใหม่ โพสต์นี้จะพูดถึงบทสัมภาษณ์ Ric Rhinehart กรรมการบริหารของสมาคมกาแฟชนิดพิเศษแห่งอเมริกา เพื่อให้เราได้เข้าถึงเบื้องหลัง ความเป็นมาของ "วงล้อแห่งรสชาติกาแฟ" มากขึ้น Ric กล่าวว่า เขาเดินทางแล้วพบ Coffee Flavor Wheel อยู่ในสถานที่หลายๆ แห่งทั่วโลก "แทนซาเนีย โคลัมเบีย (Blackwaters) หรือ ที่ความสูง 3,000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลในเปรู รูปวงล้อนี้ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของกาแฟชนิดพิเศษไปแล้ว" เราอาจจะเห็นมันแขวนอยู่หลังบาร์ในร้านกาแฟร้านโปรด สองปีก่อน Ric และผู้บริหาร SCAA ตัดสินใจว่า วงล้อที่เราใช้กันมาเป็นเวลา 20 ปี ถึงเวลาต้องปรับปรุงแล้ว

วงล้อแห่งรสชาติกาแฟ ถูกใช้อย่างแพร่หลายโดยบุคลากรในวงการกาแฟ เนื่องจากพวกเราต้องการภาษาที่ใช้ในการอธิบายว่า จริงๆ แล้วกาแฟที่เราชิมนั้น มีรสชาติเป็นอย่างไร โดยเฉพาะในการสื่อสารระหว่างผู้จัดจำหน่ายกาแฟ โรงคั่วกาแฟ และนักชิมกาแฟมืออาชีพ ซึ่งกลุ่มหลังนี้มีส่วนร่วมอย่างมากในการพัฒนาวงล้อใหม่นี้ พวกเขาต้องชิมกาแฟตั้งแต่ที่มีขายในซุปเปอร์มาเก็ตไปจนถึงกาแฟชนิดพิเศษมากๆ (Super-specialty) เพื่อที่จะได้มาซึ่งคำศัพท์ที่ใช้อธิบายกลิ่น เช่น Grapefruit, Pea pod, Cardboard, Molasses และ Malt

"คำอธิบายรสชาติเหล่านี้ไม่ได้ถูกแต่งขึ้นโดยนักชิม" Ric กล่าวว่า "นักชิมเหล่านี้คือมืออาชีพที่ได้รับการฝึกอบรมอย่างดีในการจำแนกรสชาติ" วงล้อใหม่นี้แสดงคำอธิบายที่จำเป็น เมื่อต้องพูดถึงรสชาติของกาแฟ ไม่ว่าคุณจะเป็นนักวิทยาศาสตร์ นักชิมมืออาชีพ หรือ คนรักกาแฟก็ตาม วงล้อใหม่นี้ใช้คำที่มีความแม่นยำ ตรงไปตรงมากว่าเวอร์ชันเก่าซึ่งค่อนข้างให้คำจำกัดความกว้างๆ เช่น Nut-like หรือ nippy

การปรับปรุงครั้งนี้ต้องขอบคุณความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการรับรู้รส Ric อธิบายว่า "ในตอนแรกที่มีการสร้าง Coffee Flavor Wheel มีคำบางคำ เช่น Umami (อูมามิ) ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ทางการรับรู้รส ไม่สามารถจำแนกได้ จากการพัฒนานี้ เราได้เรียนรู้อย่างมากเกี่ยวกับการชิม การจำแนกแยกแยะรสชาติและกลิ่น มีเทคโนโลยีและแนวคิดมากมายที่ต้องเรียนรู้ ทั้งที่เกี่ยวกับกาแฟโดยตรงและความรู้ในด้านอื่น"

SCAA ได้ทำงานร่วมกับ World Coffee Research (WCR) ซึ่งเป็นองค์กรไม่หวังผลกำไร มีศูนย์กลางอยู่ที่ Texas A&M University กระบวนการนี้ใช้เวลา 3 เดือน โดยนักวิทยาศาสตร์ได้ค้นหาและจัดเรียงคำอธิบาย แล้วนำมาจัดหมวดหมู่ การจัดเรียงนี้อนุญาตเฉพาะคำศัพท์ที่อธิบายได้ทั้งเชิงประมาณและคุณภาพ ซึ่งเป็นสิ่งที่มีประโยชน์นอกเหนือไปจากการอธิบายรสชาติกาแฟ "และควรที่จะช่วยในการพัฒนาสายพันธุ์ใหม่ๆ ของกาแฟ รวมไปถึงช่วยพัฒนาคุณภาพของวงการกาแฟ"

จะมีบางส่วนในวงล้อที่สะท้อนถึงรสชาติกาแฟ "ที่ดี" หรือไม่? "ก็ไม่เชิง" Ric บอกว่าวงล้อรสชาติคือความพยายามในการอธิบายคุณสมบัติ แต่ไม่ได้เจาะจงเฉพาะรสชาติที่ "เป็นบวก" หรือ "เป็นลบ" หลายปีก่อน Ric พบว่ามีนักดื่มบางคนให้ความสำคัญกับรสชาติในพื้นที่ "12 ถึง 3 นาฬิกา" ซึ่งเป็นส่วนของดอกไม้และผลไม้ แต่โดยปกติแล้ว แต่เดิมกาแฟจะถูกจัดอยู่ในช่วง "8 ถึง 11 นาฬิกา" ในส่วนของ Roasted, Cocoa และ Nutty กล่าวโดยสรุปก็คือ รสชาติกาแฟสำหรับนักดื่มบางกลุ่ม ยังคงเป็นเรื่องของปัจเจกบุคคล ซึ่งบางคนอาจจะชอบหรือไม่ชอบในบางกลิ่น ตัวอย่างเช่น กลิ่นไหม้ ที่บางคนอาจจะไม่ชอบเลย แต่ก็มีบางคนที่ชอบมาก

เรียบเรียงโดย: ฝ่ายวิชาการและพัฒนาหลักสูตร ศูนย์การเรียนรู้ ฝึกอบรม กาแฟและเครื่องดื่ม ฮิลล์คอฟฟ์ 

Cr. http://food52.com/blog/15618-what-it-means-to-reinvent-the-coffee-flavor-wheel

#SCAA #COFFEECUPPING #FLAVORWHEEL #AROMA #FLAVOR

เราจะทำให้ (วงการ) กาแฟดีขึ้นได้อย่างไร?


ห่วงโซ่อุปทานของกาแฟชนิดพิเศษ (Specialty Coffee Supply Chain) นั้นค่อนข้างซับซ้อน มันคือการเชื่อมโยงหลายภาคส่วนที่แตกต่างกันเข้าด้วยกัน ตลอดเส้นทางการผลิต เมล็ดกาแฟต้องพบกับการคุกคามที่ไม่เพียงแต่กระทบกับคุณภาพของกาแฟเท่านั้น ในบางครั้งก็ถึงกับเสียหายไปทั้งหมด ในทุกๆ วัน กาแฟต้องต่อสู่กับสภาพอากาศ โรคและแมลง ความแห้งแล้ง การขาดแคลนแรงงาน แรงกดดันของตลาด สิ่งเหล่านี้มีผลต่อเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ ที่จะดูแลต้นกาแฟของพวกเขาให้แข็งแรงและมีความสุข 

ความยั่งยืนของต้นกาแฟ หรือ ความสามารถที่จะยืนหยัดต่อสู้ ขึ้นอยู่กับความสามารถที่จะเผชิญหน้ากับอุปสรรคต่างๆ ที่กล่าวมา ทั้งนี้ต้องพึ่งพาการวิจัย หรือการแบ่งปันสิ่งที่ค้นพบ เพื่อให้ทุกคนในอุตสาหกรรมมีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices) เหมือนๆ กัน อนาคตของกาแฟนั้นเกี่ยวข้องโดยตรงกับสิ่งแวดล้อม ไม่เพียงแต่กับการปลูกกาแฟเพียงอย่างเดียว แต่หมายถึงการปลูกพืชชนิดอื่นๆ และสิ่งแวดล้อมของโลกใบนี้ 

ในอุตสาหกรรมการผลิตกาแฟ (และอุตสาหกรรมเกษตรอื่นๆ) คำว่า "ความยั่งยืน" สื่อได้หลายความหมาย หากจะจัดเป็นหมวดหมู่ที่เกี่ยวข้อง สามารถจัดได้ดังนี้ เศรษฐกิจ (แรงงาน ค่าจ้าง และการผลิต) ระบบนิเวศสิ่งแวดล้อม (พลังงาน ของเสีย น้ำ สิ่งก่อสร้าง) การเมือง (หน่วยงานรัฐ กฏหมาย ความเป็นผู้นำ การสื่อสาร) วัฒนธรรม (สังคม สุขภาพ ความเชื่อ การศึกษา) หากลองพิจารณาดู จะพบว่าเป็นเรื่องยากที่จะค้นหาจุดเริ่มต้น หรือเลือกว่าสิ่งใดเป็นความจำเป็นเร่งด่วน แต่เรารู้แน่ๆ ว่า "ความยั่งยืน" ที่แท้จริงคือการเดินทางที่จุดหมายไม่ได้อยู่ใกล้เพียงแค่วันเดียว แต่เป็นการเดินทางที่ยาวนานกว่า 1 ชั่วอายุคน สิ่งสำคัญที่เราต้องจดจำก็คือความพยายามเล็กๆ ของเราในวันนี้จะเป็นส่วนหนึ่งของความยั่งยืนในอนาคต ซึ่งส่งผลต่อคนรุ่นหลัง 

จุดหมายของเรา ในฐานะส่วนหนึ่งของชุมชนกาแฟ ไม่ใช่เพียงแค่ตอบคำถามว่าจะทำกาแฟที่ดีได้อย่างไร? แต่คือการปรับปรุงวิธีการทำงานของเราในวันนี้ เพื่อเป้าหมายความยั่งยืนของวงการกาแฟในอนาคต 

เรียบเรียงโดย: ฝ่ายวิชาการและพัฒนาหลักสูตร ศูนย์การเรียนรู้ ฝึกอบรม กาแฟและเครื่องดื่ม ฮิลล์คอฟฟ์ 

Cr. http://www.scaa.org/chronicle/2015/10/30/how-can-we-make-coffee-better-letter-from-the-editor/

วงการกาแฟจะใช้ประโยชน์ WCR: Sensory Lexicon อย่างไร?


สัปดาห์ก่อนเราได้นำเสนอเรื่องราวของ SCAA's Coffee Taster Flavor Wheel ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับ WCR's Sensory Lexicon (ปทานุกรมกลิ่นและรสชาติ) อย่างไรก็ตามเราพูดถึงความสำเร็จและความเป็นมาของงานวิจัยเป็นส่วนใหญ่ ในบทความนี้จะนำเสนอการนำผลจากงานวิจัยไปใช้ในเชิงอุตสาหกรรม โดยบางส่วนมาจากบทสัมภาษณ์ Tim Hill ผู้ซึ่งเป็นตำนานของวงการชิมและผู้ค้ากาแฟจาก Counter Culture

"(วงล้อรสชาติกาแฟ) เครื่องมือใหม่ที่สะเทือนวงการนี้ จะเปลี่ยนแนวคิดและมุมมองเกี่ยวกับรสชาติกาแฟไปเลย" 

อุตสาหกรรมอื่นๆ จะใช้ประโยชน์จาก WCR: Sensory Lixicon ได้อย่างไร? 

ปทานุกรมกลิ่นและรสชาติ สามารถนำไปใช้กับผลิตภัณฑ์ เช่น เบียร์ ไวน์ ชีส น้ำผึ้ง ฯลฯ สรุปก็คือ ปทานุกรมนี้สามารถนำไปใช้ในฟังก์ชันงานหลักๆ คือ 1) งานวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Product R&D) 2) งานควบคุมคุณภาพและเทียบมาตฐาน (QC & Calibration)

ในความเป็นจริงแล้ว แต่ละบริษัท หรือ สมาคม ก็ได้มีการจัดทำปทานุกรมของตัวเองไว้ใช้ภายในหรือ จำหน่ายในเชิงพานิชย์ แต่ ปทานุกรมกลิ่นและรสชาติของ WCR สามารถดาวน์โหลดได้ฟรีและอนุญาตให้ใช้งานได้ (ดาวน์โหลด WCR's Sensory Lexicon ได้ที่ http://worldcoffeeresearch.org/images/pdfs/WCR_Sensory_Lexicon_Edition_1_2016.pdf)

ต่อไปเป็นบทสัมภาษณ์ Tim Hill 

WCR's Sensory Lexicon ต่างจากเครื่องมือที่เรามีใช้อยู่แล้วอย่างไร? 

Tim Hill: ในเชิงการค้ากาแฟนั้น ปทานุกรมจะเป็นเครื่องมือเทียบมาตรฐานที่ดี ที่สามารถบอกได้ถึงคำอธิบายและความเข้มข้นของกลิ่นและรสชาติได้ดีกว่า เช่น เราอธิบายกลิ่นว่าเป็น "มะนาว" แต่ WCR สามารถอธิบายกลิ่นได้ละเอียดกว่า ดังนี้ "มะนาว ที่มีความเข้ม 3 จากสเกล 15"

อะไรคือความซับซ้อนในการทำความเข้าใจกับกับปทานุกรม WCR? 

Tim Hill: ความยากก็คือการพยายามแยกแยะคุณลักษณะของกลิ่นและรสชาติออกจากปริมาณที่เราชี้วัดได้ ผู้ค้ากาแฟหลายคนเข้าใจว่ากลิ่นมีทั้งดีและไม่ดี (ทัศนคติด้านกลิ่นและรส ค่อนข้างขึ้นอยู่กับปัจเจกบุคคล: ผู้แปล) แต่ปทานุกรมไม่ได้ตอบคำถามนั้น แต่อธิบายว่า นั่นเป็นกลิ่นอะไรและมีความเข้มข้นเท่าใด

จะนำปทานุกรมไปใช้ในงานอย่างไร?

Tim Hill: ปทานุกรม WCR ช่วยเราในการค้นหากลิ่นและรสชาติที่โดดเด่นมีเอกลักษณ์ เพื่อนำเสนอให้กับผู้บริโภค (โดยผู้ผลิตหรือโรงคั่ว) แต่ที่เห็นได้เด่นชัดในฟังก์ชันงาน ก็คือ การนำไปใช้ในห้องแล็ปเพื่อเทียบมาตรฐาน

ข้อจำกัดของปทานุกรมเป็นอย่างไร? 

Tim Hill: สิ่งที่ต้องยอมรับก็คือ ปทานุกรมนี้อ้างอิงมาตรฐานกลิ่นที่มีอยู่ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าสนใจว่า มาตรฐานด้านกลิ่นในนานาประเทศ มีความแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งแน่นอนว่าด้วยวัฒนธรรมที่ต่างกัน ย่อมส่งผลต่อมาตรฐาน แต่ก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจหากจะมีการแลกเปลี่ยนกันในเชิงวัฒนธรรม และเป็นไปได้ที่งานของ WCR จะทำต่อเนื่องไปในบริบทต่างๆ

ปทานุกรมมีผลกระทบต่อวงการกาแฟอย่างไร? 

Tim Hill: ผลกระทบจากการพัฒนาเป็นสิ่งที่เราต้องการตั้งแต่เริ่มพัฒนา อย่างไรก็ตาม ผมคิดว่าปทานุกรมจะมีผลมากกับโรงคั่วและผู้บริโภค และเชื่อว่าผลกระทบหลักๆ จะเกิดที่ฝั่งของผู้ผลิตที่จะได้เครื่องมือที่นำมาช่วยพัฒนาการพัฒนาสายพันธุ์กาแฟให้ดีขึ้นได้โดยมีหลักวิชาการรองรับ

เรียบเรียงโดย: ฝ่ายวิชาการและพัฒนาหลักสูตร ศูนย์การเรียนรู้ ฝึกอบรม กาแฟและเครื่องดื่ม ฮิลล์คอฟฟ์ 

Cr. https://www.facebook.com/notes/world-coffee-research/world-coffee-research-sensory-lexicon-part-4-how-the-industry-can-use-it/1036690486372728

SCAA สอนใช้งาน Coffee Taster Flavor Wheel ง่ายๆ ใน 8 ขั้นตอน!


SCAA สอนใช้งาน Coffee Taster Flavor Wheel ง่ายๆ ใน 8 ขั้นตอน! 

นวัตกรรมวงล้อกลิ่นและรสชาติกาแฟ เป็นความร่วมมือในการพัฒนาระหว่างสมาคมกาแฟชนิดพิเศษแห่งอเมริกา (SCAA) และ องค์กรวิจัยกาแฟโลก (World Coffee Research: WCR) เพื่อให้ได้เครื่องมือที่ช่วยนักชิมกาแฟ ในการวิเคราะห์และอธิบายกลิ่นและรสชาติกาแฟ และนี่คือเคล็ดลับง่ายๆ ในการใช้งาน

1) ทำความเข้าใจ วงล้อกลิ่นและรสชาติกาแฟมีลักษณะเป็นภาพกราฟิกส์ที่แทนกลิ่นและรสชาติด้วยสีต่างๆ ซึ่งแสดงถึงความหลากหลายและซับซ้อนของรสชาติกาแฟ อาจจะมีคำบางคำที่คุณยังไม่รู้จักในขั้นตอนนี้ ไม่เป็นไร เราจะอธิบายในตอนหลัง

2) ลองชิมกาแฟ ถึงแม้ว่า Coffee Flavor Wheel จะใช้งานได้โดยผู้ชิมสมัครเล่นและมืออาชีพ แต่ก็ต้องมีความใส่ใจในการชิมไม่ว่าจะชิมเพื่อจุดประสงค์ใดก็ตาม กาแฟควรจะเตรียมอย่างดี ควรมีการสังเกตหลายๆ ขั้นตอนเช่น กลิ่นหลังจากการบดเมล็ดกาแฟ (Dry Aroma) หรือ กลิ่นหลังจากที่ผงกาแฟสัมผัสน้ำแล้ว (Wet Aroma) และรสชาติภายในปากหลังจากการชิม "Flavor" คือ การผสานกันระหว่างกลิ่นและรสชาติ โดยที่คุณสมบัติ (Attribute) ในวงล้อกาแฟจะรวบรวมทั้งรสชาติพื้นฐาน (Basic Tastes) และกลิ่นที่ได้จากการสูดดม (Aromatics) อย่างไรก็ตามบางรสชาติ เป็นการผสมผสานกลิ่นและรสหลายๆ อย่าง เช่น มะนาวมีรสเปรี้ยวและกลิ่นมะนาวที่มีเอกลักษณ์ หรือ กากน้ำตาล (Molasses) ที่ประกอบด้วย รสชาติหวาน ขม และ กลิ่นโมลาส พยายามจดจำกลิ่นและรสชาติให้ได้ จากนั้นก็ไปดูที่วงล้อ

3) เริ่มจากตรงกลาง เป็นผลจากการออกแบบ ผู้ชิมจะเริ่มดูตั้งแต่ตรงกลางแล้วมองออกมาด้านนอก เนื่องจากวงแหวนที่อยู่ด้านในสุดจะบอกรสชาติทั่วๆไปกว้างๆ จากนั้นวงแหวนวงนอกจะอธิบายด้วยรายละเอียดที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น ตัวอย่างเช่น ผู้ชิม ชิมกาแฟจากเอธิโอเปียแล้ว พบรสชาติผลไม้ ก็ให้ดูที่ส่วน Fruity จากนั้นผู้ชิมก็จะมีทางเลือกว่า รสชาติผลไม้นั้นอยู่ในกลุ่มใด ไม่ว่าจะเป็น Berry, Dried Fruit, Citrus Fruit หรือ อื่นๆ? ถ้าผู้ชิมแน่ใจว่าเป็นรสชาติ Citrus Fruit ก็จะเจาะลึกลงไปอีกว่า เป็น Grape Fruit, Orange, Lemon หรือ Lime ผู้ชิมสามารถทำซ้ำได้ หากในกาแฟชนิดนั้นพบรสชาติมากกว่า 1 และนี่คือฟังก์ชันพื้นฐานของ Flavor Wheel อย่างไรก็ตามผู้เชี่ยวชาญ หรือ ผู้สนใจสามารถลงลึกในรายละเอียด (ดูขั้นตอนถัดไป)

4) อ่านปทานุกรม WCR ปทานุกรมกลิ่นและรสชาติ (World Coffee Research Sensory Lexicon) คืองานวิจัยที่เป็นพื้นฐานของ SCAA's Coffee Flavor Wheel ซึ่งรวบรวมคำศัพท์ที่อธิบายกลิ่นและรสชาติ ถึง 110 รสชาติ โดยมีคำอธิบายโดยละเอียด พร้อมทั้งแหล่งกลิ่นอ้างอิง เหมาะสำหรับผู้ชิมที่ต้องการคำอธิบายกลิ่นและรสชาติที่ชัดเจนมากขึ้น

5) ตรวจสอบแหล่งกลิ่นอ้างอิง ทุกๆ รสชาติในปทานุกรม WCR มีแหล่งอ้างอิงซื่งสามารถหาได้จากซุปเปอร์มาร์เก็ต (ข้อควรระวัง แหล่งอ้างอิงบางชนิดไม่สามารถรับประทานได้) ขั้นตอนนี้นักชิมจะได้แนวคิดเกี่ยวกับความเชื่อมโยงระหว่างกลิ่นและรสชาติของตัวอย่างอ้างอิงกับกลิ่นที่พบในกาแฟ

6) เริ่มจากตรงกลางของวงล้ออีกครั้ง เมื่อผู้ชิมมีความเข้าใจมากขึ้นจากการอ่านปทานุกรม ให้กลับมาสังเกตที่วงล้อ Flavor Wheel อีกครั้ง จะพบว่าในแต่ละส่วนของรสชาติ บางรสชาติติดกัน บางรสชาติใกล้กัน หรือ มีช่องว่างที่ห่างกัน (ดังรูป) ที่เป็นดังนี้เนื่องจากนักวิจัยพบว่าบางกลิ่นมีความใกล้ชิดกัน เช่น Grapfruit อยู่ติดกับ ส้ม แต่ส้ม อยู่ห่างจาก Lemon และ Lime อยู่ห่างจาก กลิ่นเปรี้ยว (Sour Aromatics) มาก เนื่องจากอยู่คนละหมวด นั่นเอง

7) อธิบายด้วยภาษาง่ายๆ ประโยชน์ที่เด่นชัดของวงล้อ Flavor Wheel เวอร์ชั่นใหม่คือ คำศัพท์ที่ใช้ค่อนข้างง่ายและเป็นสากล ทำให้ผู้ชิมสามารถสื่อสารกับคนในวงการกาแฟ หรือ ผู้ที่ไม่ได้อยู่ในวงการกาแฟได้ง่าย

8) สังเกตสี ประสาทสัมผัสด้านต่างๆ ของมนุษย์จะอยู่เชื่อมโยงกับการมองเห็น ในบางครั้งความน่ากินของอาหาร ส่งผลต่อจินตนาการด้านรสชาติ ซึ่งสีสันในวงล้อ Flavor Wheel ก็สามารถบ่งบอกรสชาติได้ในระดับหนึ่ง เช่น นักชิม ชิมกาแฟแล้วสามารถบรรยายได้ว่า "กาแฟมีรสคล้ายกับผลไม้สีแดง" หรือ "บางอย่างที่มีสีน้ำตาล" ดังนั้นหากนักชิมนึกถึงรสชาติออกมาเป็นสี ก็ให้ไปดูที่กลุ่มหมวดสีนั้นๆ

ยังมีวิธีการใช้งานวงล้อรสชาติกาแฟอีกมากมาย ซึ่งนักชิม นักวิจัย ผู้ฝึกอบรม สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ เพื่อสร้างสรรค์เทคนิคและแนวคิดใหม่ๆ

เรียบเรียงโดย: ฝ่ายวิชาการและพัฒนาหลักสูตร ศูนย์การเรียนรู้ ฝึกอบรม กาแฟและเครื่องดื่ม ฮิลล์คอฟฟ์

Cr. http://www.scaa.org/chronicle/2016/02/05/how-to-use-the-coffee-tasters-flavor-wheel-in-8-steps

วันเสาร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2559

ปทานุกรมกาแฟ WCR Coffee Lexicon การพัฒนาที่ (จะ) ไม่หยุดยั้ง



ปทานุกรมกาแฟ WCR Coffee Lexicon การพัฒนาที่ (จะ) ไม่หยุดยั้ง 

สัปดาห์ที่ผ่านมาเราได้พูดคุยเกี่ยวกับ "วงล้อรสชาติกาแฟ" ใหม่ของ SCAA และ ปทานุกรม WCR ในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นที่มา กรรมวิธีสร้างสรรค์ วิธีการใช้งาน ในบทสรุปสุดท้ายนี้ จะพูดถึงข้อดีอันหนึ่งของปทานุกรมรสชาติกาแฟของ WCR นั่นคือการเปิดกว้างให้มีการพัฒนาร่วมกัน และมีความต่อเนื่อง 

เป็นที่ทราบดีว่าการริเริ่มสร้าง ปทานุกรมกาแฟ โดย World Coffee Research (WCR) คือการทำงานนานกว่า 100 ชั่วโมงของนักวิทยาศาสตร์ในการประเมินตัวอย่างกว่า 105 ตัวอย่าง จาก 13 ประเทศทั่วโลก ในท้ายที่สุดทำให้ได้รสชาติออกมาถึง 110 รสชาติมาตรฐาน แต่นี่คือการเริ่มต้นเท่านั้น WCR เปิดกว้างให้มีการประเมินกาแฟ และยืนยันว่า รสชาติที่เป็นมาตรฐานนั้น สามารถเพิ่มได้ เช่นเดียวกับ SCAA ซึ่งยินดีจะปรับปรุงวงล้อรสชาติกาแฟ (Flavor Wheel) เมื่อปทานุกรม WCR มีการเพิ่มรสชาติใหม่ๆ เข้าไป (ยังไม่มีการกำหนดว่าการปรับปรุงจะบ่อยแค่ไหน อาจเป็น ทุกปี หรือ ทุก 2 ปี) 

ความน่าสนใจอยู่ที่ พวกเราก็สามารถเสนอรสชาติใหม่ๆ หรือเสนอให้มีการแก้ไขรสชาติที่มีอยู่แล้ว ส่งให้กับ WCR ได้ โดยส่งจดหมายระบุชื่อและข้อมูลติดต่อ พร้อมรายละเอียดให้กับตัวแทน WCR ที่อีเมล์ info@worldcoffeeresearch.org โดยสามารถนำเสนอได้ 2 หัวข้อคือ การเพิ่ม/ปรับปรุงรสชาติ และ การเพิ่มตัวอย่างอ้างอิงใหม่ 

เสนอรสชาติใหม่ : ถ้าคุณเชื่อว่ายังมีรสชาติที่ไม่มีอยู่ในปทานุกรม ก็สามารถนำเสนอได้ โดยระบุข้อมูลดังนี้ - ชื่อรสชาติที่เสนอ - คำอธิบายรสชาติที่เสนอ - ตัวอย่างอ้างอิงรสชาติที่เสนอ อย่างน้อย 1 ตัวอย่าง - คำอธิบายว่ารสชาติที่เสนอใหม่ ต่างจากรสชาติใกล้เคียงที่มีอยู่แล้วอย่างไร 

เสนอตัวอย่างอ้างอิงใหม่ : คุณยังสามารถเสนอตัวอย่างอ้างอิงเพิ่มได้ ซึ่งอาจจะเป็นตัวอย่างที่มีความเข้มข้น (Intensity) มากหรือน้อยกว่าตัวอย่างอ้างอิงที่มีอยู่แล้ว หรือ แม้แต่เพิ่มตัวอย่างอ้างอิงใหม่ ที่สามารถหาตามท้องตลาดได้ง่ายกว่า - ชื่อรสชาติที่มีอยู่แล้ว - ชื่อ/ตราสินค้าของตัวอย่างอ้างอิงที่เสนอ ซึ่งหาได้จากร้านค้าในอเมริกา - คำอธิบายว่าตัวอย่างอ้างอิงใหม่จะดีกว่าหรือช่วยเพิ่มความสมบูรณ์ให้กับตัวอย่างที่มีอยู่แล้ว 

กระบวนการตรวจสอบ 
คณะทำงานที่ได้รับการฝึกประสาทสัมผัสการรับรสจนเชี่ยวชาญจะประเมินและตรวจสอบรสชาติที่นำเสนอ โดยดูว่าซ้ำกับรสชาติที่มีอยู่แล้วหรือไม๊ เช่นเดียวกับตัวอย่างอ้างอิง อนึ่ง ในการเพิ่ม/ปรับเปลี่ยน รสชาติ หรือ เพิ่ม/แก้ไข ตัวอย่างอ้างอิง คณะทำงานจะเน้นให้เกิดการปรับปรุงรสชาติที่มีอยู่แล้ว หรือทำให้สมบูรณ์ขึ้น

เรียบเรียงโดย : ฝ่ายวิชาการและพัฒนาหลักสูตร ศูนย์การเรียนรู้ ฝึกอบรม กาแฟและเครื่องดื่ม ฮิลล์คอฟฟ์ 
Cr. https://www.facebook.com/notes/world-coffee-research/the-world-coffee-research-sensory-lexicon-explained-part-5-a-living-document/1038259382882505

Processing Flavor Matrix



ยังคงมีความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจในวงการกาแฟออกมาเรื่อยๆ ในช่วงนี้ นอกจาก Coffee Flavor Wheel โดย SCAA หรือ ปทานุกรมรสชาติกาแฟ โดย WCR วันจันทร์ที่ผ่านมา Torch Coffee นำเสนอ Processing Flavor Matrix ซึ่งเป็นการอธิบายถึงความสัมพันธ์ของรสชาติ (Flavor) กับ กระบวนการแปรรูป (Process) ที่เป็นผลสรุปจากการทดลอง 

Torch ระบุว่ากราฟแมทริกซ์รสชาตินี้ ยังไม่สามารถสะท้อนรสชาติของกาแฟทั้งหมดได้ แม้ว่าจะเป็นกาแฟสายพันธุ์เดียวกัน จากพื้นที่เดียวกัน หรือแม้แต่โปรเซสด้วยกระบวนการเดียวกันก็ตาม (ผลสรุปได้จากสวนกาแฟที่มีการควบคุมกระบวนการทดลอง) 

จาก Flavor Matrix จะเห็นได้ว่าผลลัพธ์ยังคงเป็นไปในทิศทางเดียวกับองค์ความรู้ที่เรามี เช่น การแปรรูปกาแฟแบบแห้ง (Dry Process) จะให้รสชาติในกลุ่มของผลไม้ทั้งหมด (Fruity) ในขณะที่การแปรรูปแบบเปียก (Wet Process) จะได้รสชาติในหลายๆ กลุ่ม เช่น Nutty, Sweet, Fruity ‪

เรียบเรียงโดย: ฝ่ายวิชาการและพัฒนาหลักสูตร ศูนย์การเรียนรู้ ฝึกอบรม กาแฟและเครื่องดื่ม ฮิลล์คอฟฟ์ 

Cr. http://www.torchcoffee.com/…/…/2/15/processing-flavor-matrix

10 อันดับน้ำผลไม้เพื่อสุขภาพที่ควรมีไว้ในร้านกาแฟ


หนึ่งในวิธีลดน้ำหนักที่ทำง่ายและได้ผลที่เรารู้จักกันก็คือ การลดเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง เช่น น้ำอัดลม เครื่องดื่มเกลือแร่ เป็นต้น ซึ่งการดื่มน้ำผลไม้ก็เป็นอย่างหนึ่งที่สามารถดื่มทดแทนได้และยังให้ผลไปถึงการเสริมภูมิคุ้มกันโรคและลดน้ำหนักอีกด้วย นักวิชาการส่วนมากจึงแนะนำให้คุณดื่มน้ำผลไม้ในปริมาณเหมาะสมเพื่อสุขภาพ เรามาดู 10 อันดับน้ำผลไม้ที่ช่วยให้คุณหุ่นดีกันดีกว่า 
1. น้ำแครอท อุดมไปด้วยแคลเซียม โปแตสเซียม และแมกนีเซียมที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย รวมถึงแคโรทีนที่สามารถเปลี่ยนเป็นวิตามินเอภายในร่างกายมนุษย์ และดูดซึมไปใช้ได้ท้นที น้ำแครอทยังมีสารแอนตี้ออกซิแดนท์ ที่ช่วยป้องกันและต่อต้านโรคมะเร็งได้ 
2. น้ำบีทรูท มีสรรพคุณช่วยเสริมสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง อุดมด้วยโปแทสเสียม เหล็ก วิตามินซี และแมกนีเซียม ช่วยรักษาผู้ป่วยที่มีอาการสูญเสียความทรงจำ และสมาธิสั้น และยังช่วยลดความเสียหายของร่างกายในผู้หญิงที่มีปัญหาปวดประจำเดือนอีกด้วย 
3. น้ำแคลนเบอรรี่ มีวิตามินซีสูง เป็นที่รู้จักกันดีว่าน้ำแคลนเบอรี่ ยังช่วยลดความเสี่ยงของโรคติดเอทางเดินปัสสวะที่เป็นปัญหาของผู้หญิงทั่วโลกสามารถนำไปปั่นกับกล้วยหอมเพื่อช่วยเพิ่มคุณค่าทางวิตามินที่จำเป็นต่อร่างกาย และล่าสุดยังพบว่าน้ำแคลนเบอรี่มีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้ออีโคไลที่อยู่ในกระเพาะปัสสาวะได้ 
4. น้ำลูกแพร์ นับเป็นน้ำผลไม้ที่มีสรรพคุณยอดเยี่ยมเพื่อการเสริมสร้างสุขภาพโดยตัวน้ำลูกแพร์อย่างเดียวก็ให้ผลที่ดีแต่ก็สามารถผสมกับน้ำชนิดอื่น ๆ เพื่อเพิ่มสรรพคุณได้ มีวิตามินซี แคลเซีย โปแทสเซียม แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส ในปริมาณสูงซึ่งล้วนเป็นแร่ธาตุจำเป็นของร่างกาย 
5. น้ำองุ่น น้ำผลไม้สีม่วงนี้ช่วยป้องกันไม่ให้เซลล์สมองเสื่อม และช่วยในเรื่องความจำ มีสารต้านอนุมูลอิสระสูงที่ช่วยเพิ่มภูมิต้านทานโรคในร่างกาย 
6. น้ำส้ม น้ำที่ช่วยบำรุงผิวพรรณและสุขภาพแท้ๆ ร้อยเปอร์เซ็นต์ อุดมด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเพิ่มอัตราไหลเวียนของเลือดในร่างกาย และอัตราการดูดซึมสารอาหาร จุดเด่นอยู่ที่วิตามินซี และฟลาโวนนอยด์ที่มีอยู่สูง ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันและต้านเชื้อโรค 
7. น้ำมะม่วง ช่วงป้องกันโรคมะเร็หลากหลายชนิด ช่วยทำความสะอาดโลหิตอันจะทำให้สุขภาพดีขึ้น อีกอย่างคือช่วงบำรุงไต น้ำมะม่วงมีรสชาติดี เอาไปผสมกับน้ำผลไม้อื่นเพื่อเพิ่มรสชาติได้ เช่น กีวี หรือกล้วย 
8. น้ำบูลเบอรี่ ถ้าดูแค่สีอย่างเดียวเราก็พอจะเดาได้ว่าเป็นน้ำที่เปี่ยมด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ วิตามินซี และเส้นใยอาหาร นับว่าบำรุงสุขภาพแบบครบวงจรเลยทีเดียว อย่างนี้ต้องลอง 
9. น้ำทับทิม ถ้าคุณอยากมีหัวใจที่ดีต้องดื่มน้ำทับทิม แพทย์ผู้เชี่ยวชาญและนักโภชนาการล้วนแนะนำให้ดิ่มน้ำผลไม้ น้ำทับทิมเพียงอย่างเดียวให้สารต้านอนุมูลอิสระที่แบจะครบทุกชนิด นับว่ามีประโยชน์มากสำหรับการป้องกันโรคมะเร็ง 
10.น้ำองุ่นคอนคอร์ด หากคุณกำลังเป็นโรคความดันโลหิตสูงและโรคอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องล่ะก็ น้ำองุ่นพันธุ์คือคำตอบของคุณ เพราะมันมีสารต้านอนุมูลอิสระอยู่ในปริมาณมากและเข้มข้นด้วยจนกระทั่งสามารถลดความดันเลือดได้ ทั้งยังช่วยบำรุงหัวใจให้แข็งแรงและลดความเสี่ยงที่เกิดโรคต่าง ๆ อีกด้วย 

Cr.Trainer ผึ้ง 

HILLKOFF ที่ปรึกษาธุรกิจกาแฟและเครื่องดื่มแบบครบวงจร สนใจติดต่อสอบถามข้อมูล รับคำปรึกษาหรือสั่งซื้อสินค้า ได้ทั้งทางโพสต์หน้าWall, Inbox และแชทไลน์ หรือโทรศัพท์: 053-231030 , 082-7629259 
www.hillkoff.com
Twitter : ilovehillkoff
Line ID : hkmarketing
Instagram : ilovehillkoff

ข้อดีครอบจักรวาลของกากกาแฟ



ข้อดีครอบจักรวาลของกากกาแฟ ที่คุณรู้แล้ว จะต้องได้ใช้ประโยชน์ และอึ้งเลยทีเดียว 
1.วาดรูปดึงดูดความเป็นอาร์ต ช่วยแนะนำเพิ่มเติมไอเดีย และความเป็นธรรมชาติ ในการทำงานศิลปะ ด้วยกากกาแฟ วิธีทำคือ เก็บกากกาแฟที่เหลือมาคั้นน้ำอีกรอบก็จะได้สีกาแฟเพ้นท์แบบปลอดสารพิษ 
2.เป็นปุ๋ยธรรมชาติ คำแนะนำเพิ่มเติม ควรใส่กากกาแฟในปริมาณ น้อย ๆ 5 – 7 กรัม ก็พอนะคะ เพราะจะทำให้สภาพของดินเค็มเกินไป หรือถ้าอยากมีเห็ดงาม ๆ เอาไว้กินเองเพื่อสุขภาพ ให้ไปกาหัวเชื้อเห็ดชนิดที่เราต้องการฝั่งในกากกาแฟ จะทำให้เห็นออกดอกใบใหญ่ และสวยงามตามที่ต้องการค่ะ 
3.ไล่หอยทาก ศัตรูของไม้ดอกประดับที่สวยงาม สัตว์ที่มีผิดหนังเป็นเมือก ๆ นุ่มนิ่มอย่างหอยทาก ไส้เดือน และแมลงบางชนิด มักไม่ชอบคามเป็นกรดที่อยู่ใน กาแฟให้เอากากกาแฟไปโรยตรงที่คิดว่าาเป็นทางเดินของหอยทาก ลักษณะที่เป็นเหมือก ทางยาว รับรองหายหมดแน่นอน 
4. ดับกลิ่นอับในตู้เย็น บ้านไหนที่หลงใหลการบดกาแฟดื่มเองทุกเข้า ก็จะดีหน่อยเพราะไม่ต้องเสียเงินซื้อถ่านไม้มาวางไว้ในตู้เย็นแล้ว แค่เอากากกาแฟที่ใช้แล้ววางแทนก็จะดูดกลิ่นให้สิ้นซากได้เช่นกัน 
5.ไล่มดให้ไกลห่างจากตู้กับข้าว ตู้กับข้าวใครที่เจอมดบุกรุกจะให้เอาน้ำมารองขาตู้ก็กลัวยุงมาวางไข่ลองนำกากกาแฟทาที่ขาตู้เท่านี้ มดเจ้าปัญหาก็ไม่กล้ามายุ่งยากแน่นอน 
6.กับดักจับแมลงสาบ จำกัดแมลงสาบปราบยกรัง โดยให้นำเอากระป๋องเก่าๆ มาใส่กากกาแฟแล้วติดเทปกาวสองหน้ารอบ ๆ ขอบ ด้านในกระป๋อง แมลงสาปจะมาตามกลิ่นและติดเข้ากับกาว หนีไม่รอด แน่นอน พี่ปีเตอร์ 
7.ทำน้ำยาทะลวงท่อน้ำตัน ท่อตัน ก็สลายได้ให้พริบตาด้วยการผสมกากกาแฟในน้ำร้อน และน้ำยาล้างจานนิดหน่อย แล้วเทลงไปในท่อ อ่างล้าง หรือในห้องน้ำก็ได้เช่นกัน 
8.ช่วยน้องหมาจากเห็บหมัด สงสารน้องหมาที่ต้องทนทุกรข์ทรมานกับเห็บหมัด คัน จะดึงออกก็ลำบาก ให้เจ้าของผสมกากกาแฟเข้ากับแชมฟูอาบน้ำน้องหมา จะช่วยกำจัดเจ้าเห็บหมัด คำแนะนำเพิ่มเติม ให้ลองผสมเพียงเล็กน้อยก่อนนะค่ะ กลัวน้องหมาแพ้ ได้ค่ะ 
9.กันลื่นทางเข้าบ้าน ทางเดินเข้าหน้าบ้านที่ชื้นแชะเดินลำบาก มาเพิ่มความหนาแน่นให้ทางเดินสะดวกด้วยกากกาแฟดีกว่า โรยกากกาแฟไว้หน้าที่ทางเดิน ก็จะช่วยเพิ่มแรงเสียดทานให้เดินง่าย 
10.เพิ่มพลังให้ปุ๋ยหมัก ถ้าคุณเป็นคนที่ชอบปุ๋มหมักแบบเกษตรอินทรีย์ ลงมือหมักเองทุกขั้นตอน อย่าลืมใส่กากกาแฟลงไปหมักด้วยทุกครั้งจะช่วยให้ต้นไม้ยิ่งสวยงาม โตเร็วแน่นอนค่ะ 

Cr.Trainer ผึ้ง 

HILLKOFF ที่ปรึกษาธุรกิจกาแฟและเครื่องดื่มแบบครบวงจร สนใจติดต่อสอบถามข้อมูล รับคำปรึกษาหรือสั่งซื้อสินค้า ได้ทั้งทางโพสต์หน้าWall, Inbox และแชทไลน์ หรือโทรศัพท์: 053-231030 , 082-7629259 
www.hillkoff.com
Twitter : ilovehillkoff
Line ID : hkmarketing
Instagram : ilovehillkoff

วันศุกร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2559

การคั่วกาแฟ : ตอนการลดอุณหภูมิหลังการคั่ว และการเก็บรักษาเมล็ดกาแฟ


การลดอุณหภูมิหลังการคั่วเสร็จ : หลังจากการคั่วกาแฟด้วยอุณหภูมิและระยะเวลาต่าง ๆ จนได้ระดับการคั่วที่ต้องการแล้ว จะต้องมีการระบายความร้อนอย่างรวดเร็วเพื่อป้องกันกาแฟไหม้ เพราะแม้หลังจากที่ดับไฟแล้วแต่อุณหภูมิก็ยังสะสมอยู่ในเมล็ดและในถังคั่วด้วย โดยผู้คั่วจะเทกาแฟที่คั่วแล้วออกจากถังคั่วลงในถาดคูลที่มีพายกวนวนตลอด และมีพัดลมดูดอากาศ ดูดควันกาแฟออกไป ส่วนการพรมน้ำจะช่วยให้กาแฟคั่วลดอุณหภูมิลงอย่างรวดเร็ว แต่ต้องระวังเพราะการพรมน้ำที่มากเกินพอดีจะส่งผลต่ออายุการเก็บรักษาของกาแฟคั่วต่อไปด้วย
การเก็บรักษาเมล็ดกาแฟ : วิธีการในการบรรจุและการเก็บรักษาเมล็ดกาแฟให้มีกลิ่นและรสชาติให้คงอยู่เป็นระยะเวลานานนั้นเป็นสิ่งที่ผู้ผลิตและผู้บริโภคกาแฟให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก ซึ่งกลิ่นและรสชาติของกาแฟคั่วจะเกี่ยวข้องกับปัจจัยต่าง ๆ คือ อากาศ, ความชื้น, ความร้อน, และแสงแดด ดังนั้นเราจึงควรเก็บเมล็ดกาแฟคั่วในระบบปิดที่มืดและเย็น โดยอาจเก็บในโถสุญญากาศ หรือในถุงฟอล์ยที่ทึบแสง เพื่อไม่ให้กาแฟสัมผัสกับก๊าซออกซิเจน เพราะก๊าซออกซิเจนจะทำให้สารประกอบกลิ่น รส และสารประเภทไขมันที่มีในเมล็ดกาแฟคั่วเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น (Oxidation) ทำให้กาแฟสูญเสียกลิ่นและรสที่ดีไปได้อย่างรวดเร็ว และเช่นเดียวกันอุณหภูมิที่สูงและพลังงานจากแสงแดดจะมีผลต่อการเร่งการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ทำให้สารประกอบที่ระเหยได้และระเหยไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้กลิ่นและรสชาติสูญเสีย และทำให้เกิดการเหม็นหืนเร็วขึ้นอีกด้วย นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงความชื้นหรือไอน้ำในอากาศ เพราะเมล็ดกาแฟคั่วจะดูดความชื้นได้ง่าย ความชื้นที่เพิ่มขึ้นจะเร่งปฏิกิริยาออกซิเดชั่น และปฏิกิริยาชีวเคมีอื่น ๆ เป็นผลทำให้คุณภาพของกาแฟด้อยลงเช่นกัน
การบรรจุ : กาแฟที่ผ่านการคั่วแล้วจะมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยจะมีอัตราการปล่อยก๊าซค่อนข้างสูงในช่วงแรก การบรรจุกาแฟคั่วลงในภาชนะบรรจุทันทีโดยไม่มีการปล่อยให้ก๊าซระเหยออกไปบ้าง จะทำให้ความดันภายในภาชนะบรรจุสูงมาก จนถึงขั้นทำให้บริเวณรอยปิดผนึกของบรรจุภัณฑ์ฉีกขาด หรืออาจเกิดการระเบิด ทำให้กาแฟฟุ้งกระจาย ดังนั้นในการบรรจุควรเลือกบรรจุภัณฑ์ที่ป้องกันการซึมผ่านของความชื้น และป้องกันการซึมผ่านของก๊าซต่าง ๆ เข้ามาในบรรจุภัณฑ์โดยเฉพาะก๊าซออกซิเจน และการปล่อยผ่านก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากภายในออกสู่บรรจุภัณฑ์ด้วย ซึ่งถุงฟอล์ยชนิดติดวาล์วสามารถตอบโจทย์ในข้อนี้ได้เป็นอย่างดี
การเก็บรักษาเมล็ดกาแฟให้สดใหม่เป็นความใส่ใจอย่างหนึ่งของบาริสต้า ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ส่งผลโดยตรงต่อกลิ่นและรสชาติของกาแฟ ร้านกาแฟร้านใดที่เก็บรักษาเมล็ดกาแฟให้สดใหม่อยู่เสมอ เมื่อนำมาสกัดเป็นเอสเปรสโซเสริฟให้กับลูกค้าแล้วกาแฟก็จะมีรสและกลิ่นที่หอมจรุงใจ ลูกค้าดื่มแล้วติดใจต้องกลับมาดื่มกาแฟที่ร้านของเราอีกแน่นอน
Cr.Trainer เกียว
 --- พบกับหลากหลายบทความดี ๆ จากประสบการณ์ความรู้และทักษะของเหล่า ❝ เทรนเนอร์ ฮิลล์คอฟฟ์ ❞ ได้ที่นี่ www.facebook.com/ilovehillkoff และ www.hillkoff.com ในบทความดี ๆ ตอนต่อไปนะคะ

การคั่วกาแฟ : ตอนสารประกอบที่ทำให้กาแฟมีกลิ่นหอม


องค์ประกอบของสารระเหยในเมล็ดกาแฟที่ยังไม่ผ่านกระบวนการคั่วพบว่ามีจำนวนมาก แต่ให้คุณลักษณะของกลิ่นที่ไม่ดี โดยจะมีความแตกต่างกันขึ้นกับปัจจัยทางด้านต่าง ๆ เช่นสายพันธุ์ สภาวะในการปลูก และกระบวนการแปรรูป เช่นกาแฟพันธุ์อราบิก้ามีกลิ่นคล้ายถั่วคั่ว (nutty), กลิ่นคล้ายดอกไม้ (fragrant), กลิ่นคล้ายผลไม้จำพวกส้ม (citrus), กลิ่นคล้ายผลแบล็คเคอเรนท์ (black currant) มากกว่ากาแฟโรบัสต้า ส่วนกาแฟพันธุ์โรบัสต้าจะมีกลิ่นคล้ายของเสีย (rotten), กลิ่นเหม็นอับหรือกลิ่นหืน (rancid), กลิ่นสาบสัตว์ (animal-like), อาหารไหม้ (burnt), ยาง (rubber-like), ขี้เถ้าหรือเถ้าถ่าน (ashy) มากกว่ากาแฟอราบิก้า
โดยองค์ประกอบของสารระเหยเหล่านี้จะเกิดการเปลี่ยนแปลงและมีจำนวนเพิ่มขึ้นเมื่อเมล็ดกาแฟผ่านกระบวนการคั่ว มีรายงานพบว่าองค์ประกอบของสารระเหยมากกว่า 800 ตัว ซึ่งเกิดจากปฏิกิริยาเมลลาร์ด การแตกสลายของโปรตีน น้ำตาล ไขมัน และสารประกอบฟีนอล
เมื่อเมล็ดกาแฟที่ผ่านการคั่วแล้วจะพบว่า สารประกอบฟูแรนจะมีอิทธิพลต่อกลิ่นรสของกาแฟมากกว่าองค์ประกอบอื่น สารในกลุ่มนี้เกิดจากปฏิกิริยาไพโรไลซีสของน้ำตาลซึ่งให้กลิ่นคาราเมล ส่วนสารในกลุ่มไพราซีนจะพบมากเป็นอันดับสอง โดยจะให้กลิ่นคั่ว (roasted) กลิ่นธัญพืช (cereal) กลิ่นขนมปังกรอบ (cracker) หรือกลิ่นขนมปังปิ้ง (toast) ซึ่งสารในกลุ่มนี้จะมีค่าต่ำสุดของการรับรู้รสต่ำ จึงมีความสำคัญในการให้กลิ่นรสของกาแฟ สารกลุ่มไพโรลจะให้กลิ่นหวาน (sweet) กลิ่นคาราเมล (caramel) และกลิ่นเห็ด (mushroom) นอกจากนี้ยังพบไทโอพีนซึ่งเกิดจากปฏิกิริยาเมลลาร์ด โดยให้กลิ่นเนื้อ (meaty) นอกจากนั้นยังพบสารไทอะโซลซึ่งมีน้อยเมื่อเทียบกับองค์ประกอบอื่น ๆ ซึ่งได้จากการแตกสลายของน้ำตาล นอกจากนี้ยังมีสารประกอบอื่น ๆ อีกที่เกิดขึ้นจากการคั่ว และมีค่าระดับการรับรู้รสต่ำสุดแตกต่างกันไป
Cr.Trainer เกียว
--- พบกับหลากหลายบทความดี ๆ จากประสบการณ์ความรู้และทักษะของเหล่า ❝ เทรนเนอร์ ฮิลล์คอฟฟ์ ❞ ได้ที่นี่ www.facebook.com/ilovehillkoff และ www.hillkoff.com ในบทความดี ๆ ตอนต่อไป นะคะ
บทความนี้เขียนและเรียบเรียงด้วยถ้อยคำของเทรนเนอร์เอง ทั้งนี้ได้มีการหาข้อมูลเพิ่มเติมจากสื่อทั้งในและต่างประเทศ โดยเนื้อหาส่วนมากในบทความนี้แปลมาจากวิทยานิพนธ์ เรื่องการเปลี่ยนแปลงของสารประกอบระเหย และกรดอินทรีย์ระหว่างกระบวนการหมักของกาแฟอราบิก้าที่ปลูกในประเทศไทย โดยนายนนทวัชร ชิตวิลัย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร

กาแฟสกัดเย็น Cold Brew มีรสชาติที่ดีกว่าอย่างไร

หลายท่านอาจได้เคยลิ้มลองกาแฟสกัดเย็น Cold Brew กันบ้างแล้ว และอาจมีคำถามตามมาอีกว่าทำไมกาแฟสกัดเย็น Cold Brew จึงรสชาติดีกว่า คอกาแฟจะสัมผัสได้ถึงรสชาติที่โดดเด่นของ Cold brew ที่แตกต่างจากกาแฟเอสเปรสโซ่ที่สกัดร้อน ด้วยโปรไฟล์การคั่วและการบดกาแฟที่จะทำให้ได้กาแฟที่มีรสชาติที่แตกต่างกันออกไปแล้ว การสกัดด้วยอุณหภูมิที่แตกต่างกันก็น่าจะเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่ทำให้ได้กาแฟที่มีรสชาติที่พิเศษแตกต่างกันออกไปอีก
กาแฟบดนั้นประกอบไปด้วยสารประกอบทางเคมี, กรด, และน้ำมันต่าง ๆ สารเหล่านี้เรียกรวมกันว่า soluble ที่ให้รสชาติของกาแฟ เรามาดูคำอธิบายทางเคมีกันว่าการสกัดกาแฟด้วยสองวิธีที่แตกต่างกันด้วยอุณหภูมิและเวลานั้น รสชาติที่ได้จะแตกต่างกันอย่างไร
1)    Hot brewed drip coffee กาแฟดริปด้วยน้ำร้อนที่เราคุ้นเคย ด้วยการรดน้ำร้อนลงไปในกาแฟบด แล้วปล่อยให้น้ำกาแฟที่สกัดไหลผ่านกระดาษกรองผ่านดริปเปอร์หยดลงมาในถ้วยกาแฟ วิธีนี้ใช้เวลาเพียงไม่กี่นาทีก็จะได้กาแฟดริปที่มีกลิ่นหอมฉุย และมีรสเปรี้ยวนิด ๆ จากกรดอซิดิค เมื่อคุณผสมกาแฟบดกับน้ำร้อนจะเกิดปฏิกิริยาทางเคมีขึ้นซึ่งก่อให้เกิดรสชาติและกลิ่นของกาแฟ กาแฟจะละลายได้ดีที่สุดในอุณหภูมิระหว่าง 195 – 205 องศาฟาเรนไฮต์  ซึ่งทำให้กาแฟชงร้อนมีรสชาติและกลิ่นที่เด่นกว่ากาแฟชงเย็นในตอนเริ่มแรก น้ำร้อนยังดึงสารเคมีที่ละลายน้ำได้ออกมาสู่กาแฟแก้วนั้นได้อย่างรวดเร็วและทำให้มีความผันผวนมากขึ้น ซึ่งหมายความว่าสารเคมีที่ละลายน้ำได้ที่ก่อให้เกิดรสชาติและกลิ่นที่โดดเด่นนั้นก็จะระเหยไปในอากาศได้ง่ายขึ้นด้วยเช่นกัน ดังนั้นเมื่อเราดริปกาแฟร้อนเราจะสังเกตได้เลยว่ามันหอมเตะจมูกมาก ๆ แล้วเราก็ต้องดื่มมันในขณะนั้นเลย (ซึ่งต่างจากกาแฟดริปเย็นที่เก็บไว้ได้นานเป็นสัปดาห์เลยทีเดียว)  การละลายอย่างรวดเร็วจากการดริปด้วยน้ำร้อนนั้นก็ไม่ได้ดีเสมอไป น้ำเดือดทำให้เกิดสารประกอบทางเคมีของกาแฟเสื่อมไปและเกิดการออกซิไดซ์ ซึ่งอาจทำให้กาแฟมีรสเปรี้ยวและขม
2)    Cold brewกาแฟสกัดเย็น บาริสต้าจะสกัดกาแฟในอุณหภูมิที่เย็นเป็นเวลาหลายชั่วโมงหรือทั้งวัน โดยค่อย ๆ ปล่อยให้กาแฟหยดลงมาช้า ๆ (ประมาณวินาทีละหนึ่งหยด) ออกซิเดชั่นและการย่อยสลายจะยังคงเกิดขึ้นเมื่อคุณดริปกาแฟด้วยน้ำเย็น แต่มันจะเกิดขึ้นช้ามาก จึงเป็นเหตุผลที่กาแฟดริปเย็นนั้นแทบจะไม่มีรสเปรี้ยวจากกรดและรสขมเลย ด้วยวิธีนี้จะได้กาแฟที่มีความหวานชัดเจนโดยที่ไม่ถูกกลบด้วยรสเปรี้ยวเพราะกรดในกาแฟออกมาน้อยมาก ให้รสชาติลึกซึ้งยิ่งขึ้น และมีความเข้มข้นมากกว่า
เนื่องจากอุณหภูมิที่เย็นในการสกัด Cold Brew นี้จึงทำให้ไม่สามารถที่จะดึง soluble ทั้งหมดออกมาได้รวดเร็วเท่ากับน้ำที่มีอุณหภูมิร้อน บาริสต้าจึงต้องใส่ใจมากขึ้น ด้วยการเพิ่มกาแฟบดให้มากขึ้นเป็นเท่าตัว และใช้ระยะเวลาในการสกัดเย็นที่นานขึ้นและนานขึ้นเพื่อให้ได้มาซึ่งรสชาติที่กลมกล่ม สุขุมนุ่มลึก ในแบบฉบับกาแฟดริปเย็นที่คงความสดไว้ได้นานกว่าถึง 2-4 สัปดาห์เลยทีเดียว (เมื่อเก็บในตู้แช่เย็น) นอกจากนี้ยังเป็นวิธีที่สดชื่นที่จะได้รับคาเฟอีนในวันที่อากาศร้อนอีกด้วย เพราะน้ำกาแฟที่สกัดออกมามีอุณหภูมิที่เย็นอยู่แล้วโดยที่ไม่ต้องเติมน้ำแข็ง ด้วยกาแฟที่มีความเป็นกรดที่ต่ำกว่านี้จึงทำให้ดื่มแล้วสบายท้องกว่า เหมาะสำหรับคนที่เป็นโรคกระเพาะและคนธาตุอ่อนหรือคนที่ท้องเสียง่ายค่ะ
Cr.Trainer เกียว
--- พบกับ หลากหลายบทความดีๆ จากประสบการณ์ ความรู้และทักษะของเหล่า ❝ เทรนเนอร์ ฮิลล์คอฟฟ์ ❞ ได้ ที่นี่ https://www.facebook.com/ilovehillkoff และ www.hillkoff.com ในบทความดีๆ ตอนต่อไป นะคะ

บทความนี้เขียนและเรียบเรียงด้วยถ้อยคำของเทรนเนอร์เอง ทั้งนี้ได้มีการหาข้อมูลเพิ่มเติมจากสื่อทั้งในและต่างประเทศ โดยเนื้อหาส่วนมากในบทความนี้แปลมาจาก http://www.techinsider.io/cold-brew-coffee-taste-chemistry-science-solubles-volatile-2015-8  Credit : Julia Calderone

ดื่มแล้วสดชื๊น..สดชื่น


เวลาที่เราง่วง รู้สึกอ่อนเพลีย เราจะนึกถึงกาแฟเป็นอันดับแรกเลยใช่มั้ยล่ะคะ คุณรู้หรือไม่ว่า นอกจากกาแฟแล้ว ยังมีเครื่องดื่มอื่น ๆ  ที่ช่วยให้คุณตาสว่าง รู้สึกกระปรี้กระเปร่าได้ไม่แพ้กัน หรือหากบางท่านดื่มกาแฟไม่ได้ วันนี้เรามีทางเลือกให้กับคุณค่ะ
1.     เครื่องดื่มชาเขียวมัทฉะ (Matcha Green Tea) มัทฉะทำมาจากใบชาซึ่งบดเป็นผงละเอียด เราทุกคนทราบดีว่าการดื่มชาเขียวนั้นเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ แต่คุณทราบหรือไม่ว่า หากคุณดื่มมัทฉะ คุณจะได้รับประโยชน์อะไรบ้าง มัทฉะนั้นมีคาเฟอีนมากพอที่จะเพิ่มพลังงานให้คุณในระหว่างวัน อีกทั้งยังมี L-theanine และกรดอมิโนที่จะก่อให้เกิดการผ่อนคลายโดยที่ไม่ทำให้คุณรู้สึกง่วงนอน
2.     เครื่องดื่มชาสมุนไพรต้มยำ (Thai Tom Yum Tea) เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพต้นกำเนิดไทยแท้ ซึ่งมีส่วนผสมของสมุนไพรเครื่องต้มยำนานาชนิด เช่น ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด พริก สรรพคุณของสมุนไพรนานัปการนี้ช่วยลดอาการเบื่ออาหาร แก้เมาค้าง ขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยย่อยอาหาร ช่วยให้หายใจโล่ง แก้หวัด ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยระบบไหลเวียนโลหิต เลือดลมเดินสะดวก บำรุงหัวใจ ลดคอเลสเตอรอล ขับเหงื่อ ขับปัสสวะ ขับเสมหะ หากดื่มชาต้มยำร้อนในยามเช้าจะช่วยเรียกความสดชื่น หากดื่มเป็นชาเย็นจะช่วยให้ความรื่นรมย์ในยามบ่ายได้เป็นอย่างดีค่ะ
3.     เครื่องดื่มโกโก้ร้อน (Cocoa) ช่วยให้ร่างกายปล่อยสารเคมีที่มีผลต่อความรู้สึกในเชิงบวก ซึ่งจะช่วยเริ่มต้นวันที่ดีของคุณ เมื่อบริโภคโกโก้ในปริมาณที่พอเหมาะก็จะมีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างมาก เมล็ดโกโก้อุดมไปด้วยแมกนีเซียม (หากแมกนีเซียมในร่างกายต่ำจะส่งผลต่ออาการง่วงนอน) และยังสามารถช่วยควบคุมความดันโลหิตและลดคอเลสเตอรอลได้อีกด้วย
4.     เครื่องดื่มชามาซาลาไจ (Masala Chai) เป็นการผสมผสานของอบเชย, ขิง, กระวาน, ลูกจันทน์เทศ, และเครื่องเทศอินเดียแบบดั้งเดิม เป็นชาที่มีกลิ่นหอม มีต้นกำเนิดมาจากอินเดีย แต่ปัจจุบันนี้เราสามารถพบได้มากมายในร้านกาแฟ Masala Chai หรือ Chai Tea คือการผสมผสานชาดำ ซึ่งนั่นหมายความว่ามันมีคาเฟอีนอันเพียงพอที่จะรักษาระดับพลังงานของร่างกาย นิยมดื่มเป็นชาร้อนแต่กลับมีสรรพคุณช่วยให้คลายร้อนได้อย่างน่าอัศจรรย์โดยใช้ความร้อนจากสมุนไพรไปดับร้อนภายในร่างกายแนวโอมิโอพาธีย์ (Homeopathy) อีกทั้งความหอมของเครื่องเทศทำให้รู้สึกผ่อนคลายให้กับประสาททั้ง 5 ทำให้รู้สึกสดชื่น กระฉับกระเฉงค่ะ
5.     เครื่องดื่มจากรากมาค่าหรือโสมเปรู (Maca Root) มีต้นกำเนิดในเทือกเขา Peruvien Andes โดยชาวอินคาได้นำมาใช้ประโยชน์มากว่าพันปีแล้ว เรามักจะเติม Maca ในสมูทตี้และลาเต้ Maca นั้นจะช่วยเสริมสร้างความสมดุลของฮอร์โมนในร่างกาย เพิ่มภูมิต้านทางของร่างกาย ต่อต้านการเกิดเนื้องอกและมะเร็งร้าย ลดไขมันในเลือด กระตุ้นการทำงานของสมอง ป้องกันโรคสมองเสื่อม และทำให้สมองปลอดโปร่ง อารมณ์แจ่มใส
6.     เครื่องดื่มชาขมิ้น (Turmeric Tea) ได้มีการนำขมิ้นมาใช้เพื่อประโยชน์ในทางสุขภาพมากว่าหลายร้อยปีมาแล้วในประเทศอินเดีย ชาขมิ้นเป็นที่รู้จักดีสำหรับสีเหลืองทองอร่ามและรสชาติสมุนไพรนั่นเอง วิตามินในชาขมิ้นนั้นสามารถปรับประคองระดับพลังงานในร่างกาย อีกทั้งยังสามารถเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายอีกด้วย

เห็นมั้ยล่ะคะว่านอกจากกาแฟแล้ว ยังมีเครื่องดื่มหลากหลายที่ทำให้คุณรู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่า พร้อมสำหรับการลุยงานในแต่ละวัน อีกทั้งยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพอีกด้วย ฉะนั้นเรามาดื่มเครื่องดื่มอร่อย ๆ เพื่อเติมเต็มทั้งความรู้สึกทางจิตใจและสุขภาพที่ดีต่อร่างกายกันเถอะค่ะ

Cr.Trainer KYO เกียว
(บทความนี้เขียนและเรียบเรียงด้วยถ้อยคำของเทรนเนอร์เอง ทั้งนี้ได้มีการหาข้อมูลเพิ่มเติมจากสื่อทั้งในและต่างประเทศ โดยเนื้อหาส่วนมากในบทความนี้แปลมาจาก vogue.com.au ,MacaThailand, Hillkoff) 

--- พบกับหลากหลายบทความดี ๆ จากประสบการณ์ความรู้และทักษะของเหล่า ❝ เทรนเนอร์ ฮิลล์คอฟฟ์ ❞ ได้ที่นี่ www.facebook.com/ilovehillkoff และ www.hillkoff.com ในบทความดี ๆ ต่อไปนะคะ

กาแฟอร่อยทำทานเองที่บ้านง่าย ๆ


วิธีชงกาแฟให้อร่อยนั้นมีอยู่หลายวิธี แน่นอนว่าแต่ละวิธีก็จะให้รสชาติกาแฟที่แตกต่างกันคะ ทั้งในเรื่องของกลิ่นหอม ลุ่มลึก เข้มข้น หรือบางเบา แต่ถ้าพูดถึง วิธีการชงกาแฟคั่วบด ที่ง่ายและสะดวกที่สุดอีกแบบหนึ่ง คงไม่พ้นไปจาก "French Press Coffee" 

☕ French Press" หรือ เครื่องชงกาแฟแบบกด เป็นหนึ่งในวิธีชงกาแฟที่โด่งดังและได้รับความนิยมไม่น้อย และได้รับความนิยมไปทั่วโลก มีชื่อเรียกหลายอย่าง เช่น Press Pot, Coffee Press, Coffee Plunger เครื่องชงแบบนี้เหมาะสำหรับชงดื่มคนเดียว หรือสองคนขึ้นอยู่กับขนาดของเครื่องชง ว่ากันว่า การชงแบบ French Press สามารถดึง"เอกลักษณ์ของกาแฟ" ที่นำมาชงได้อย่างเต็มที่ นั้นก็หมายความว่า ถ้ากาแฟที่นำมาใช้ คุณภาพดี รสชาติก็ออกมาดี การชงกาแฟตามวิธี French ☕ สำหรับ 1-2 ที่ คะ 

1. ตรวจสอบ French Press ก่อนใช้งาน 
2. เทน้ำร้อนลงไป French Press เพื่อวอม ทิ้งไว้ซักพักจน French Press เริ่มอุ่นแล้วจึงเทน้ำออก เพื่อรักษารสชาติของกาแฟ 
3. ใส่ผงกาแฟแบบหยาบ (grind coarse) 2 ช้อนโต๊ะ หรือ ปรับปริมาณของกาแฟได้ตามความชอบ 
4. ตามด้วยน้ำร้อน (อุณหภูมิ 90-95 องศา) เทให้ทวมกาแฟ ทิ้งไว้สักครู่ให้เทน้ำร้อนลงไปอีกเกือบเต็ม จึงใช้ช้อนคนเล็กน้อยเพื่อให้กาแฟเข้ากันกับน้ำ และเพื่อให้กาแฟที่ลอยอยู่จมลงไปในน้ำได้ง่ายขึ้น (บางสูตรบอกว่าไม่ต้องคนก็ได้) 
5. ปิด plunger ทิ้งไว้ประมาณ 3-5 นาที 
6. แล้วค่อยๆกด plunger ลงไปช้าๆให้กากกาแฟลงไปอยู่ที่ก้น French Press ก่อนจะรินกาแฟใส่แก้วให้รอเวลาประมาณ 1 นาที เพื่อให้กากกาแฟเล็กๆจม 
7. เทใส่แก้ว จะเติมนมครีม หรือน้ำตาล ตามชอบได้เลยคะ และคุณก็จะได้จิบกาแฟสด ที่รสชาติกล่มกล่อม นุ่มสบายคะ 

Cr.เทรนเนอร์โอ๋

--- พบกับ หลากหลายบทความดีๆ จากประสบการณ์ ความรู้และทักษะของเหล่า ❝ เทรนเนอร์ ฮิลล์คอฟฟ์ ❞ ได้ ที่นี่ https://www.facebook.com/ilovehillkoff และ www.hillkoff.com ในบทความดี ๆ ตอนต่อไปนะคะ

7 ปัญหายอดฮิตของร้านกาแฟ : 7DAYS 7TIPS



1. น้ำกาแฟไม่ร้อน 
☕ สาเหตุหลัก
- อุณหภูมิของเครื่องชง ยังไม่พร้อมใช้ทำงาน
- อุปกรณ์เย็น เช่น ด้ามอัดวางไว้ข้างนอก
- ภาชนะ เช่น แก้วดื่มกาแฟ ไม่ร้อนเพียงพอ
วิธีการแก้ไขเบื้องต้น
- ก่อนใช้งานควรตรวจสอบแรงดันและอุณหภูมิของเครื่องให้พร้อม
- อุ่นด้ามอัดก่อนใช้งาน
- อาจใส่น้ำร้อนลงในแก้วเพื่อล้างหรือแช่แก้วในน้ำร้อนก่อนการทำกาแฟ
2. กาแฟไหลออกเร็ว 
☕ สาเหตุหลัก 
- บดเมล็ดกาแฟหยาบเกินไป
- ใช้น้ำหนักกดกาแฟเบาเกินไป
- ใส่กาแฟบดในบาสเก็ตน้อยไป
- เครื่องบดเมล็ดกาแฟไม่ได้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานเช่นฟันบดอาจเสื่อมสภาพ
วิธีการแก้ไขเบื้องต้น 
- ใช้น้ำหนักกดกาแฟให้แรงขึ้นกว่าเดิม
- ใส่กาแฟในปริมาณที่พอดีขอบบาสเก็ต
- หมั่นสังเกตการบดเมล็ดกาแฟทุกวัน หรือส่งเครื่องมาตรวจเช็คกับทีมช่างทันทีเมื่อพบเบอร์บดที่ผิดปกติจากเดิม
3. กาแฟไม่ไหลออก หรือ ไหลออกมาช้ามาก 
☕ สาเหตุหลัก 
- น้ำในถังเก็บน้ำอาจน้ำหมด หรือ อยู่ในระดับต่ำเกินไป
- วางถังน้ำไว้ไกลกับตัวเครื่อง
- ตัวเครื่องผิดปกติ
- บดเมล็ดกาแฟละเอียดเกินไป
- ใช้น้ำหนักกดกาแฟบดแรงเกินไป
- บาสเก็ตกาแฟ อุดตัน
- ชาวเวอร์ที่หัวกรุ๊ปอุดตัน
วิธีการแก้ไขเบื้องต้น 
- ควรเช็คน้ำในถังเก็บน้ำเสมอ และ น้ำควรอยู่ในระดับที่เหมาะสม
- หาที่รองถังน้ำเสริมเพื่อให้ถังน้ำอยู่ใกล้ตัวเครื่องมากที่สุด
- ทำความสะอาดบาสเก็ต หลังใช้งานเสมอ
- หมั่นทำความสะอาดหัวกรุ๊ปหรือทำการ back flush สม่ำเสมอ
- ส่งเครื่องให้ช่างชำนาญงานตรวจเช็คอย่างสม่ำเสมอ
4. กาแฟไหลออกหรือทะลักออกจากขอบบาสเก็ต 
☕ สาเหตุหลัก 
- ใส่ด้ามอัดไม่ถูกต้องตรงตามตำแหน่ง
- มีกากกาแฟค้างอยู่ที่บริเวณขอบ หัวกรุ๊ป
- ยางรองด้ามอัดเสื่อมคุณภาพ
- ใส่เมล็ดกาแฟบดมากเกินไป
วิธีการแก้ไขเบื้องต้น 
- ใส่ก้านอัดให้ถูกต้องตรงตามตำแหน่ง
- ทำความสะอาดด้ามอัดอย่างสม่ำเสมอ หรือบ่อยเท่าที่เราจะทำได้
- ตรวจสอบอายุและเช็คสภาพของยางรองด้ามอัดโดยช่างผู้ชำนาญงานอย่างสม่ำเสมอ (ปกติอายุการใช้งาน 3 - 6 เดือน)
5. กากกาแฟแฉะ หรือ เหลว 
☕ สาเหตุหลัก 
- ใช้น้ำหนักกดกาแฟบดแรงเกินไป
- ใส่กาแฟในบาสเก็ตน้อยเกินไป
- การใสเมล็ดกาแฟบดมากเกินไปทำให้น้ำร้อนผ่านซึมไปได้ยาก วิธีการแก้ไขเบื้องต้น
- เวลาใส่กาแฟในบาสเก็ต ควรใส่ให้อยู่ระดับขอบของบาสเก็ต
- กดกาแฟด้วยน้ำหนักที่เหมาะสม
6. กาแฟไม่มีครีม่า 
☕ สาเหตุหลัก 
- เบอร์บดเมล็ดกาแฟหยาบไป
- ใช้น้ำหนักกดกาแฟบดแรงเกินไป
- การใช้กาแฟที่บดทิ้งไว้นาน กาแฟเก่าหรือกาแฟที่ ไม่มีคุณภาพ
- การกักตุนเยอะจนเกินไปทำให้กาแฟเก่าหรือกาแฟที่ ไม่มีคุณภาพ
วิธีการแก้ไขเบื้องต้น 
- ทดสอบการบดเมล็ดกาแฟว่าแรงหรือเบาไป
- ลองเปลี่ยนชนิดกาแฟและควรใช้กาแฟบดใหม่
- อย่าการกักตุนเยอะจนเกินไป
- เลือกโรงคั่วที่ได้รับมาตรฐานเช่นโรงคั่วที่ใส่ใจในการปั๊มเลข LOT เพื่อที่ลูกค้าจะได้ทราบเลข LOT วันคั่ว
7. สตีมนมไม่ขึ้นฟอง หรือ ไม่เป็นครีม 
☕ สาเหตุหลัก 
- ท่อสตรีมมีนมตัน
- นมสดหมดอายุ
- นมสดที่นำมาสตีมไม่เย็นพอ
- พิชเชอร์สำหรับสตรีมไม่เย็น
- ปริมาณของน้ำนมไม่เพียงพอ
วิธีการแก้ไขเบื้องต้น 
- หมั่นตรวจดูและทำความสะอาดท่อสตีมนมสดเสมอ
- ตรวจเช็คุณภาพสินค้าหากใช้ปริมาณนมสดไม่มากควรเลือกซื้อนมสดในแกลอนเล็กหรือซื้อขนาด 1 ลิตร
- ควรเลือกซื้อพิชเชอร์ให้เพียงพอกับความต้องการหรือมีสำรอง 1-2 ชิ้น

🔸🔸 ทั้งหมดนี้เป็นเพียง ปัญหายอดฮิตเท่านั้นนะคะ จะเห็นได้ว่า ทุกปัญหา มีวิธีแก้ไข ถ้าเราหมั่นดูแลรักษา และสังเกตุอุปกรณ์เครื่องชงของเราอยู่เสมอ ปัญหาเหล่านี้ก็จะไม่เกิดขึ้น หรืออาจจะเป็นเพียงปัญหาเล็กน้อยสำหรับเราได้คะ 💝

Cr.เทรนเนอร์พัน

--- พบกับ หลากหลายบทความดีๆ จากประสบการณ์ ความรู้และทักษะของเหล่า ❝ เทรนเนอร์ ฮิลล์คอฟฟ์ ❞ ได้ ที่นี่ https://www.facebook.com/ilovehillkoff และ www.hillkoff.com ในบทความดีๆ ตอนต่อไปนะคะ

ใส่ใจในน้ำสะอาดเพื่อรสชาติที่ดีของน้ำกาแฟ


คุณรู้ไหมว่า ☕☕ กาแฟจะอร่อยได้นั้น นอกจากจะประกอบไปด้วยเมล็ดกาแฟที่ดี และควรใส่ใจในรายละเอียดของการชงแล้ว น้ำที่ใช้ในการชงกาแฟ ก็ต้องมีคุณภาพเช่นกัน เพราะในกาแฟ 1 ถ้วย มีน้ำเป็นส่วนประกอบถึง 98% 

❝ ฮิลล์คอฟฟ์ ขอนำเสนอ เครื่องกรองน้ำ 3M ❞ 

ควรติดตั้งภายในร้านกาแฟ เพื่อยืดอายุการใช้งานของเครื่องชงกาแฟ และ เพื่อรสชาติที่ดีของกาแฟ ภายในร้านของเรา 

►เครื่องกรองน้ำ 3M รุ่น AP110 กรองแบบหยาบ 
- ผลิตจากสหรัฐอเมริกา 
- ทำจากวัสดุที่แข็งแรงและปลอดภัย ผ่านมาตรฐานขององค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา 
- มาพร้อมไส้กรอง 5 ไมครอน AP110 
- สามารถเปลี่ยนเป็นไส้กรอง AP117 สามารถกำจัดคลอรีน, ปรับปรุงกลิ่น และรสชาติของน้ำตามมาตรฐาน NSF 42 
- มี Vent Valve เพื่อความสะดวก และปลอดภัยในการเปลี่ยนไส้กรอง 
- ไส้กรอง AP110 อัตราการไหลสูงสุด อยู่ที่ 30.3 ลิตร/นาที 
- ติดตั้งกับท่อประปาขนาด 3/4" 
- ควรใช้ไส้กรองรุ่น AP110 

CR.Trainer Phung 

--- พบกับ หลากหลายบทความดีๆ จากประสบการณ์ ความรู้และทักษะของเหล่า ❝ เทรนเนอร์ ฮิลล์คอฟฟ์ ❞ ได้ ที่นี่ https://www.facebook.com/ilovehillkoff และ www.hillkoff.com ในบทความดี ๆ ตอนต่อไปนะคะ

ความละเอียดของผงกาแฟที่ต่างกัน ทำให้รสชาติต่างกัน จริงหรือไม่…!!!



ความละเอียดของผงกาแฟแบบที่ 1 ~ หยาบมาก 
ผลที่ได้ - รสจืด ไม่เข้มข้น กลิ่นไม่ค่อยหอม ครีม่าของกาแฟเป็นสีน้ำตาลอ่อนๆ 

ความละเอียดของผงกาแฟแบบที่ 2 ~ ละเอียดมาก 
ผลที่ได้ - รสขม ติดไหม้ มีกลิ่นเหม็นไหม้ ครีม่าของกาแฟเป็นสีน้ำตาลเข้มเกือบไหม้ และมีจุดสีขาวอยู่ตรงกลาง 

ความละเอียดของผงกาแฟแบบที่ 3 ~ ปานกลาง 
ผลที่ได้ - รสกล่มกล่อม มีกลิ่นหอม ครีม่าของกาแฟเป็นสีน้ำตาลทอง 

☺รส กลิ่น และครีม่า ที่ได้ เป็นแบบไหนกันบ้างครับ ลองปรับความละเอียดของผงกาแฟกันดูนะครับ ตามรสชาติที่ชอบ ^^

Cr.เทรนเนอร์เป้

--- พบกับ หลากหลายบทความดีๆ จากประสบการณ์ ความรู้และทักษะของเหล่า ❝ เทรนเนอร์ ฮิลล์คอฟฟ์ ❞ ได้ ที่นี่ https://www.facebook.com/ilovehillkoff และ www.hillkoff.com ในบทความดีๆ ตอนต่อไปนะครับ

วิธีกำจัดกลิ่นเหม็นบูดของผ้าเช็ดท่อสตรีมนม


►► บาริสต้าท่านไหนเคยเจอปัญหาเรื่องผ้าเช็ดก้านท่อสตรีมนมมีกลิ่นเหม็นบูดบ้างไหมค่ะ !!!! ส่วนใหญ่ผ้าที่เราใช้เช็ดก้านท่อสตรีมก็จะเป็นผ้าที่มีขนนุ่ม เช่นผ้านาโน หรือผ้าขนหนู ผ้าเหล่านี้จะทำการดูดซับน้ำหรือคราบนมได้ดี แล้วก็สะสมกลิ่นได้ดีเช่นกัน มักจะมีกลิ่นเหม็นบูดที่เกิดจากแบคทีเรียสะสมอยู่ ซักแล้วกลิ่นก็ยังติดค้างไม่ยอมหาย วันนี้เรามีวิธีกำจัดกลิ่นบูดหรือกลิ่นอับเหล่านี้ให้หมดไปด้วยวิธีง่ายๆ ดังต่อไปนี้ 

วิธีที่ 1 ☺ : ใช้น้ำส้มสายชูกำจัดกลิ่นเหม็นบูด 
1. แช่ผ้าเช็ดท่อสตรีมนมด้วยน้ำอุ่น แล้วเติมน้ำส้มสายชู 1-2 ช้อนโต๊ะลงไป แช่ทิ้งไว้ประมาณ 15 – 30นาที 
2. หลังจากนั้นทำการซักด้วยผงซักฟอกตามปกติ โดยไม่ต้องใส่น้ำยาปรับผ้านุ่มหรือสิ่งอื่นๆ 
3. ล้างผ้าให้สะอาด แล้วนำผ้าไปตากแดดให้แห้ง 

วิธีที่ 2 ☺ : ใช้เบกกิ้งโซดากำจัดกลิ่นเหม็นบูด 
1. แช่ผ้าเช็ดท่อสตรีมนมด้วยน้ำอุ่น แล้วเติมเบกกิ้งโซดา 1 ถ้วยตวง แช่ทิ้งไว้ประมาณ 20 -30 นาที 
2. ทำการขยี้ผ้าก่อน แล้วเปลี่ยนน้ำใหม่ 
3. หลังจากนั้นทำการซักด้วยผงซักฟอกตามปกติ 
4. ล้างผ้าให้สะอาด แล้วนำผ้าไปตากแดดให้แห้ง 

วิธีที่ 3 ☺ : ใช้แอมโมเนียกำจัดกลิ่นเหม็นอับ 
1. แช่ผ้าเช็ดท่อสตรีมนมด้วยน้ำอุ่น แล้วเติมแอมโมเนีย 1 ถ้วยลงไป แช่ทิ้งไว้ประมาณ 15 -30 นาที 
2. หลังจากนั้นทำการซักด้วยผงซักฟอกตามปกติ โดยไม่ต้องใส่น้ำยาปรับผ้านุ่มหรือสิ่งอื่นๆ 
3. ล้างผ้าให้สะอาด แล้วนำผ้าไปตากแดดให้แห้ง 

มีให้เลือกใช้ 3 วิธี วิธีไหนใช้แล้วเห็นผลดีที่สุด รีวิว มาบอกกันได้เลยนะคะ ^^ 

Cr.Trainer โอ๋

--- พบกับ หลากหลายบทความดีๆ จากประสบการณ์ ความรู้และทักษะของเหล่า ❝ เทรนเนอร์ ฮิลล์คอฟฟ์ ❞ ได้ ที่นี่ https://www.facebook.com/ilovehillkoff และ www.hillkoff.com ในบทความดีๆ ตอนต่อไปนะคะ

วันพฤหัสบดีที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2559

วิธีการดูแลรักษาเครื่องแก้ว 🍸🍸



1. ไม่ควรกระทบปากแก้วด้วย โลหะ หรือของแข็ง เช่น เมื่อรินเครื่องดื่มจากขวด (ข้อควรระวังนี้พิเศษ) 
2. ไม่ควรใช้แก้วตักน้ำแข็งเพราะเมื่อแก้วเกิดแตกร้าวขณะนั้นทำให้เศษแก้วตกลงในน้ำแข็งจะไม่สามารถแยกเศษแก้วได้ อาจต้องทิ้งน้ำแข็งทั้งหมด 
3. ไม่ควรรวบแก้วเข้าด้วยกัน ควรจัดเก็บโดยตั้งแก้วให้หงายขึ้น เพราะเนื้อแก้วในแต่ละรูปทรง ไม่เหมือนกัน เมื่อเรารวบแก้วทั้งหมดอาจทำให้แก้วเนื้อแข็งกระทบแก้วเนื้ออ่อนได้ค่ะ 
4. ไม่ควรล้างแก้วในอ่างพร้อมกันทีละหลาย ๆ ใบ เพราะ แก้วนั้นมีความบางที่ขอบแก้ว เมื่อเราล้างแก้วพร้อมๆกันทำให้โอกาสที่แก้วแตกนั้นง่ายขึ้นค่ะ 
5. ไม่ควรวางซ้อนแก้ว (ยกเว้นชนิดที่ซ้อนกันได้) เพราะอาจทำให้แก้วติดกัน เป็นสาเหตุหลักของร้านกาแฟที่บางครั้งแก้วแตกอาจเป็นการเพิ่มต้นทุนให้ในแต่ละร้านโดยไม่รู้ตัวค่ะ 
6. ไม่ควรใส่ช้อน ส้อม มีด หรืออุปกรณ์โลหะอื่นลงในแก้วนอกจากจะเป็นอันตรายสำหรับการล้างทำความสะอาดแล้ว ทั้งช้อนหรือมีดยังมีกลิ่นคาวจากอาหาร ทำให้ต้องเพิ่มขั้นตอนการทำความสะอาดค่ะ 
7. ควรแยกน้ำยาล้างจานและอุปกรณ์ทำความสะอาดแก้วและจาน เพราะอุปกรณ์ทำความสะอาดจาน หากใช้รวมกันแล้ว แน่นอนว่าแก้วของคุณนั้นอาจมีกลิ่นไม่พึ่งประสงค์ติดแก้วมาค่ะ 

Cr.Trainer พัน 🍸🍸

--- พบกับ หลากหลายบทความดีๆ จากประสบการณ์ ความรู้และทักษะของเหล่า ❝ เทรนเนอร์ ฮิลล์คอฟฟ์ ❞ ได้ ที่นี่ https://www.facebook.com/ilovehillkoff และ www.hillkoff.com ในบทความดีๆ ตอนต่อไปนะคะ

การทำความสะอาดเครื่องบดเป็นสิ่งสำคัญที่นักชงกาแฟ



😢😢 โปรดดูแลฉันบ้าง 😢😢 สำหรับคำแนะนำการทำความสะอาดเครื่องบดเป็นสิ่งสำคัญที่นักชงกาแฟหลายๆๆท่านมองข้าม วันนี้คุณดูแลเครื่องบดของคุณหรือยังค่ะ 
1.ใช้เครื่องดูดฝุ่นเล็กๆๆ เพื่อดูดทำความสะอาดสะดวกรวดเร็ว โดยการเปิดส่วนของใบมีดออกมาเป่า และเป่าบริเวณห้องบดด้านในเครื่องด้วย
2. หากท่านใดที่ไม่มีเครื่องดูดฝุ่นสามารถใช้ไดรเป่าผมทำความสะอาดได้นะคะ แต่วิธีนี้อาจจะต้องพาน้องเครื่องบดออกไปนอกร้านค่ะเพราะฝุ่นผงของ กาแฟอาจกระจายเต็มร้านของท่านได้ 
3.ใช้แปรงปัดฝุ่นขนาดกลางเพื่อปัดผงเมล็ดกาแฟออกจากจานบดค่ะ 
4.ใช้เม็ดทำความสะอาด มีอยู่หลายยี่ห้อในท้องตลาด ราคาค่อนข้างสูงค่ะ 
5.ใช้เมล็ดข้าว บางท่านเอาข้าวสวยที่ติดก้นหม้อไปตาก แล้วนำมาบดผ่านเครื่อง ประหยัดดี สิ่งสำคัญคือ หลังจากบดแล้ว ต้องตั้งระยะใบมีด เพื่อหาเบอร์บดที่เหมาะสมใหม่ทุกครั้ง มิฉะนั้นสะอาดแต่ก็ยังทำให้รสชาติเดิมเพี้ยนได้นะคะ
คำแนะนำเพิ่มเติมการดูแลรักษาเครื่องบดเมล็ดกาแฟนั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ทำให้รสชาติของกาแฟนั้นยังคงความอร่อยแต่นอกเหนือจากข้อแนะนำดังกล่าวแล้วท่าน สามารถนำเครื่องบดเมล็ดกาแฟมาตรวจเช็คสภาพกับช่างผู้ชำนาญเพื่อเช็คสภาพความ พร้อมสำหรับการบริการต่อไปค่ะ

Cr.Trainer พัน

--- พบกับ หลากหลายบทความดีๆ จากประสบการณ์ ความรู้และทักษะของเหล่า ❝ เทรนเนอร์ ฮิลล์คอฟฟ์ ❞ ได้ ที่นี่ https://www.facebook.com/ilovehillkoff และ www.hillkoff.com ในบทความดีๆ ตอนต่อไป นะค่ะ