วันพฤหัสบดีที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2559

ความรู้สึกจากการรับรู้กลิ่นและรสชาติของกาแฟจากการทดสอบโดยการชิม

ตัวอย่าง ของความรู้สึกจากการรับรู้กลิ่นและรสชาติของกาแฟจากการทดสอบโดยการชิม 
☕ กลมกล่อม ( mellow ) กลิ่น- รสที่กลมกล่อม นุ่มนวล มีความเป็นกรดผลไม้พอเหมาะ และไม่มีความกระด้าง 
☕ ขม ( bitter ) รสชาติที่รับรู้ได้เมื่อสารละลายกาแฟสัมผัสกับส่วนโคนลิ้น เทียบเคียงได้กับรสของควินิน ผลไม้บางชนิด เปลือกผลไม้ ฯลฯ 
☕ เปรี้ยว ( sour ) รสแบบกรดเปรี้ยวที่ไม่พึงประสงค์ มักเกิดจากขั้นตอนการหมักที่นานเกินไป 
☕ หวาน ( sweet ) ลักษณะของกลิ่นรสที่หอมหวานเป็นลักษณะที่พึงประสงค์ของกาแฟที่มีรสชาติดี ซึ่งจะปราศจากรสกระด้างอื่นๆ 
☕ ไหม้ ( burnt ) กลิ่น และ/หรือ รสชาติของสิ่งที่ได้รับความร้อนสูงเกินไป เช่น เนื้อไหม้ ไม้ไหม้ สำหรับการรับรู้ถึงกลิ่นรสไหม้นี้ เป็นสิ่งที่บอกได้ว่ามีการใช้ความร้อนสูงเกินไปหรือใช้เวลานานเกินไปสำหรับการคั่วกาแฟเมล็ดชนิดนั้นๆ
☕ กลิ่น – รส ที่คงอยู่หลังการกลืนน้ำกาแฟ ( after taste ) ลักษณะของกลิ่น - รสกาแฟ ที่ยังคงเหลืออยู่ในปาก หลังจากการกลืนน้ำกาแฟไปแล้ว 
☕ คล้ายเชื้อรา ( musty ) กลิ่นคล้ายเชื้อรา มักเกิดจากการตาก หรือการเก็บในสภาพที่ไม่เหมาะสม เช่น การตากที่ไม่มีการป้องกันความชื้นจากน้ำค้างในเวลากลางคืน หรือ การเก็บรักษาในโรงเก็บที่มีสภาพไม่เหมาะสม อาจทำให้มีเชื้อราในกลุ่มกาแฟเมล็ด จึงเกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์ 
☕ คล้ายดอกไม้ ( floral ) กลิ่นหอมของกาแฟที่มีกลิ่นหอมคล้ายดอกไม้บางประเภท 
☕ คล้ายดิน ( earthy ) กลิ่น-รสที่คล้ายกลิ่นดินที่เปียกชื้น มักเกิดจากการจัดการที่ไม่เหมาะสม เช่น ขั้นตอนการตากกาแฟกะลา ( วิธีเปียก ) หรือการตากผลกาแฟ ( วิธีแห้ง ) บนพื้นดิน หรือสัมผัสกับดิน ทำให้เมล็ดกาแฟดูดซับกลิ่นดินไว้ภายใน เป็นลักษณะที่ไม่พึงประสงค์สำหรับกาแฟบางชนิด 
☕ คล้ายไม้ ( woody ) กลิ่นคล้ายไม้แห้ง หรือกลิ่นถังไม้ เป็นลักษณะที่มักเกิดขึ้นกับเมล็ดกาแฟดิบที่มีการเก็บไว้นานเกินไปก่อนนำมาคั่ว 
☕ คล้ายหญ้า ( grassy ) กลิ่นที่คล้ายกลิ่นหญ้าที่เพิ่งตัดใหม่ กลิ่นใบไม้สด หรือผลไม้ ที่ยังไม่สุก

Cr. “หนังสือ สรรสาระ กาแฟ” โดย พัชนี สุวรรณวิศลกิจ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น